สิ่งสำคัญของการสร้างบ้านสไตล์รีสอร์ทที่เจ้าของบ้านควรรู้ นอกจากความสวยงาม ได้บรรยากาศของการพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติ เสมือนพักในรีสอร์ทหรือบ้านพักตากอากาศส่วนตัวแล้ว การสร้างบ้านสไตล์นี้ต้องสร้างบนพื้นฐานของความมีมาตรฐานและต้องเป็นมาตรฐานระดับสากล
เพื่อให้บ้านที่สร้างนั้นสามารถอยู่ทน อยู่นาน ไม่มีปัญหาบ้านทรุด-ร้าว ตามมาสร้างความเสียหายทั้งต่องบซ่อมแซม และปัญหาเรื่องความปลอดภัยในการใช้ชีวิตเมื่ออยู่บ้าน
บ้านทรุด-ร้าวเกิดจากอะไร?
• ที่ดินที่ใช้สร้างบ้านมีสภาพเนื้อดินไม่แน่น ชั้นดินมีช่องว่าง และมีการเคลื่อนตัวของดินไปตามช่องว่าง
• ระบบฐานของบ้านมีปัญหา เช่น เสาเข็มที่ใช้ตอกลงไปไม่ลึกพอจนถึงชั้นดินแข็ง ทำให้ไม่มีแรงพยุงบ้าน เสาเข็มมีการแตกหักชำรุด และอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ตรงกับเสาบ้าน
• กำลังในการรับน้ำหนักของเสาเข็มไม่เพียงพอที่จะรับน้ำหนักบ้าน ซึ่งอาจเป็นเพราะมีการคำนวนการรับน้ำหนักของเสาเข็มผิดพลาด
• การต่อเติมบ้านในภายหลังโดยไม่มีทีมผู้เชี่ยวชาญช่วยคำนวนเรื่องการรับน้ำหนักของเสาเข็ม
วิธีสร้างบ้านสไตล์รีสอร์ทให้มีมาตรฐาน ไม่ทรุด ไม่ร้าว
1. เลือกที่ดินที่เหมาะสมสำหรับสร้างบ้าน
ผู้ที่ต้องการสร้างบ้านสไตล์รีสอร์ทเพื่ออยู่อาศัยเอง และกำลังมองหาจับจองที่ดินเพื่อสร้างบ้าน ควรเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม สภาพดินมีความแข็ง ไม่อ่อนยวบ หรือทรุดง่าย
ส่วนผู้ที่มีที่ดินอยู่แล้ว แต่พื้นที่มีปัญหา ควรให้เวลาสำหรับการเตรียมที่ดิน โดยอาจถมหรือบดเพื่อให้ดินมีการเซ็ตตัวและมีความแข็งแรงมากพอที่จะรองรับน้ำหนักบ้านโดยไม่เกิดปัญหาการทรุดภายหลัง
2. สืบประวัติพื้นที่ที่จะใช้สร้างบ้าน
การสืบประวัติที่ดิน เช่น การสอบถามจากผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่นั้นมาเป็นเวลานานๆ เกี่ยวกับประวัติการเกิดน้ำท่วม ลักษณะความเร็วของการระบายน้ำ หรือการดูดซึมน้ำของดิน หากเป็นไปได้ ให้สอบถามถึงที่มาที่ไปของที่ดินก่อนมุมชนว่าเคยเป็นบ่อ หนอง หรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่มาก่อนหรือไม่
นอกจากนี้ควรมีการเจาะสำรวจสภาพดินในบริเวณที่จะสร้างบ้าน เพื่อวิเคราะห์ลักษณะของชั้นดิน การเรียงตัวของเม็ดดิน และความชื้นในดิน เพื่อออกแบบฐานรากและใช้เสาเข็มได้อย่างเหมาะสม
3. ให้เวลากับการเตรียมที่ดินก่อนสร้างบ้าน
การถมสำหรับดินที่ก่อสร้างมีสภาพปกติจะใช้เวลาประมาณ 6-12 เดือน ก่อนดำเนินการสร้างบ้าน เพื่อให้ดินเซ็ตตัวและสามารถคงสภาพอยู่ได้เป็นเวลานานๆ โดยไม่ยุบตัวภายหลัง แต่หากเวลาในการรอดินทรุดตัวมีไม่มากพอ อาจใช้ทางลัดช่วยเร่งได้โดยการใช้รถบดอัดดิน
4. วางฐานรากโครงสร้างให้เป็นส่วนเดียวกัน
พื้นที่ส่วนต่างๆ ของบ้าน เช่น ตัวบ้าน ที่จอดรถ ทางเดินรอบบ้าน และทุกๆ ส่วนที่ติดกับตัวบ้าน ควรมีการลงเสาเข็มรองรับทั้งหมด และทำฐานรากให้เป็นส่วนที่ใช้ร่วมกัน เพราะหากไม่มีการลงเสาเข็มรับน้ำหนักไว้ เมื่อเกิดปัญหาดินทรุดบริเวณโครงนั้นนอกจากจะมีปัญหาแตกร้าวหลุดจากตัวบ้านแล้ว ยังส่งผลต่อโครงสร้างของบ้านด้วย
5. โครงสร้างที่ไม่ใช้ฐานรากเดียวกับตัวบ้านต้องเว้นช่องว่าง
พื้นที่ส่วนต่างๆ ที่นอกจากตัวบ้าน หากไม่มีการลงเสาเข็มรองรับน้ำหนัก และไม่ใช้ฐานรากเดียวกับตัวบ้าน ควรก่อสร้างโดยเว้นระยะห่างแยกออกจากตัวบ้าน เพื่อป้องกันปัญหาเมื่อดินทรุดบริเวณโครงสร้างนั้นจะได้เสียหาเพียงส่วนนั้นส่วนเดียวและไม่ส่งผลกระทบถึงตัวบ้าน
6. เลือกบริษัทรับสร้างบ้านที่เป็นมืออาชีพ
สร้างบ้านให้มีมาตรฐานไม่เกิดปัญหาทรุด-ร้าวภายหลัง เจ้าของบ้านควรเลือกใช้บริการผู้เชี่ยวชาญที่มีทีมงานมืออาชีพ และมีความน่าเชื่อถือ พร้อมมีประกันโครงสร้าง และประกันความเสียหายหลังส่งมอบงาน เพื่อให้บ้านที่ได้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานการก่อสร้างระดับสากล
การสร้างบ้านที่ดีมีมาตรฐาน ไม่เกิดปัญหาทรุด-ร้าวภายหลัง นอกจากการควบคุมงานสร้างที่ถูกต้องตามกฎการก่อสร้างแล้ว การเลือกใช้วัสดุที่ดีมีคุณภาพ เหมาะสมกับการใช้งาน พร้อมดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ ก็จะช่วยป้องกันปัญหาเรื่องบ้านต่างๆ ในอนาคต และทำให้สามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัยในระยะยาว