การสร้างบ้านของครอบครัวถือเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมาก ต้องศึกษาทำความเข้าใจตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งการสร้างบ้านของหลาย ๆ คนก็มักจะจบลงที่งบบานปลายเกินกว่าที่วางแผนไว้ หลายคนเดือนร้อนเพราะเงินไม่พอที่เป็นหนี้เพิ่มอีก แล้วจะมีวิธีควบคุมงานให้อยู่ในงบที่กำหนดไว้ได้อย่างไร เรามีเคล็ดลับมาแนะนำค่ะ
1.เลือกแบบบ้านที่ใช่
ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก การสร้างบ้านควรจะปรึกษากับสถาปนิกให้ละเอียดและชัดเจนที่สุด ทั้งเรื่องของแบบที่ต้องการ รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง งบประมาณที่มี เพราะการก่อสร้างแต่ละแบบทั้งเรื่องราคาและความยากง่ายก็จะต่างกันออกไป ยิ่งแบบละเอียด ระบุทุกอย่างชัดเจนเท่าไหร่ ก็จะยิ่งคุมราคาง่าย เพราะตรงนี้จะเป็นการบอกตัวงบประมาณที่แน่นอนที่สุด
2.เลือกบริษัทรับสร้างบ้านที่น่าเชื่อถือ
เพราะการเลือกผิดบ้านที่ทุ่มทั้งชีวิตอาจจะเปลี่ยนได้ ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่ควรถี่ถ้วนและใจเย็นที่สุดคือ การมองหาบริษัทรับสร้างบ้านหลาย ๆ เจ้าเพื่อเปรียบเทียบเจ้าที่ดีที่สุด เช็คประวัติการทำงานที่ผ่านมา ตกลงรายละเอียดที่ชัดเจนก่อนทำการเซ็นสัญญา โดยส่วนใหญ่แล้วบริษัทรับสร้างบ้านจะเป็นคนดำเนินการให้ทั้งหมดจนบ้านเสร็จเรียบร้อยพร้อมเข้าอยู่ ซึ่งหากเราได้บริษัทรับสร้างบ้านฝีมือดี เก่ง เป็นมืออาชีพ งานก็จะออกมาตามสโคปงานที่คุยไว้ตั้งแต่แรก
3.ระบุวัสดุแน่ชัด
โดยปกติบริษัทรับสร้างบ้านจะดำเนินงานโดยใช้วัสดุตามที่ระบุไว้ในแบบบ้าน แต่ในกรณีที่มีการระบุวัสดุไม่ชัดเจนก็อาจจะทำให้งบประมาณบานปลายได้ ดังนั้นควรเลือกวัสดุที่เหมาะสมต่อการใช้งาน ในบางพื้นที่อาจจะไม่จำเป็นต้องเน้นความสวยงามก็เลือกวัสดุแบบธรรมดาราคาที่ไม่แพงจนเกินไป
4.สรุปแล้วไม่เปลี่ยนง่ายๆ
ระหว่างก่อสร้างอาจจะเกิดไอเดียใหม่ๆ ขึ้นมา ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงแบบหรือเพิ่มวัสดุจากเดิม ซึ่งนี่เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้งบประมาณที่ตั้งไว้เกิดบานปลาย พยายามตัดสินใจแล้วไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ จะดีกว่า
5.ของเหลืออย่าทิ้ง
หลังการก่อสร้างเสร็จอาจมีเศษวัสดุที่เหลือ อย่างเช่น เศษไม้ เศษกระเบื้อง ปูน ฯลฯ เราสามารถนำสิ่งของเหล่านี้กลับมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งภายในบ้านได้อีกด้วย อย่างการนำเอาเศษไม้ที่เหลือมาต่อเป็นโต๊ะหรือชั้นวางของ หรือการนำเอาเศษกระเบื้องไปตกแต่งในพื้นที่ต่างตามโซนต่าง ๆ ของบ้าน ถือเป็นการบริหารงบและใช้ของที่มีอย่างคุ้มค่า
สิ่งสำคัญที่จะคุมงบได้ดีที่สุดคือ ตัวคุณเองต้องมีความชัดเจนตั้งแต่ต้น วางแผนการทำงานให้รัดกุมและรอบคอบที่สุดเพื่อให้ทุกอย่างออกมาตามแผนที่วางไว้ เพียงเท่านี้ก็ถือเป็นการเริ่มต้นลดปัญหางบบานปลายได้แล้ว