ระบบสุขาภิบาลมีความสำคัญต่อการอยู่อาศัยภายในบ้าน ทั้งการนำน้ำมาใช้ หรือ การจัดการน้ำเสียทั้งภายในภายนอกบ้าน ดังนั้นต้องให้ความสำคัญกับการจัดวางระบบสุขาภิบาลที่เป็นกิจลักษณะ ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม และหลักสุขอนามัย เพื่อให้ใช้งานง่ายและสะดวกต่อการซ่อมแซมแก้ไขตลอดอายุการใช้งาน การวางระบบสุขาภิบาลในควรวางอย่างไร มีวิธีติดตั้งอย่างไรให้ปลอดภัยและได้มาตรฐานการสร้างบ้าน AYB Resort House มีบทความดีๆ ที่จะทำให้เข้าใจงานระบบสุขาภิบาลมากขึ้น มาฝากกันค่ะ
ลักษณะการเดินระบบท่อภายในบ้าน
1. การเดินท่อแบบลอย คือ การเดินท่อติดกับผนัง หรือวางบนพื้น การเดินท่อแบบนี้จะเห็นได้ชัดเจน สามารถ ซ่อมแซมได้ง่าย เมื่อเกิดปัญหา แต่จะดูไม่สวยงาม
2. การเดินท่อแบบฝัง คือ การเจาะสกัดผนังแล้วเดินท่อ เมื่อเรียบร้อยแล้วก็ฉาบปูนทับ หรือเดินซ่อนไว้ใต้เพดานก็ได้ ซึ่งจะดูเรียบร้อยและสวยงาม
ชนิดของท่อประปา
• ท่อประปาเหล็กอาบสังกะสี มีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี ทนทานต่อแรงกระแทกได้ ไม่หักงอ ทนต่อความดันและอุณหภูมิสูงๆ เช่น เครื่องทำน้ำร้อน แต่มีราคาค่อนข้างแพง อีกทั้งยังอาจเกิดสนิมได้เมื่อใช้ไปนานๆ โดยเฉพาะที่ฝังอยู่ในดิน
• ท่อประปาพีวีซี () เป็นท่อที่มีน้ำหนักเบา ราคาถูกกว่าแบบท่อเหล็ก สามารถดัดงอได้ และ ไม่เกิดสนิมน้ำในท่อจะสะอาดกว่า แต่ไม่สามารถทนต่อแรงกระแทกแรงๆ ได้ ไม่ทน ต่อความดันและอุณหภูมิที่สูง ท่อพีวีซีที่นำมาใช้ให้เลือกท่อสีฟ้า เพื่อใช้กับระบบน้ำ เช่น น้ำดี น้ำเสีย
การออกแบบระบบท่อน้ำทิ้ง
ต้องคำนวณท่อและความลาดเอียงให้เหมาะสม เพื่อให้น้ำไหลในท่อได้เร็วพอที่จะพาขยะ สิ่งโสโครกที่เราขับถ่ายปกติไปสู่บ่อน้ำเสียได้โดยสะดวก การเดินท่อแนวนอนต้องมีความลาดเอียงลงอย่างน้อย 1:100 (1 เมตร/1 ซม.) จากห้องน้ำไปยังบ่อบำบัดน้ำเสีย จากบ่อบำบัดน้ำเสียไปท่อระบายน้ำฝนรอบบ้าน และจากท่อระบายน้ำฝนไปยังแหล่งปล่อยน้ำทิ้งตลอดแนวท่อระบายน้ำ อุปกรณ์ข้อต่อที่ใช้ต้องเป็นแบบที่ใช้สำหรับการระบายน้ำทิ้งเท่านั้น ห้ามใช้ข้อต่อประปาเพราะจะมีความโค้งน้อย ส่งผลต่อการระบายของเสียได้
การออกแบบระบบการดักกลิ่น
อุปกรณ์ทุกชนิดที่ต่อกับท่อระบายน้ำทิ้งจะต้องมีที่ดักกลิ่น (คอห่าน) ที่ได้มาตรฐานทุกตัว มิเช่นนั้นจะมีกลิ่นไม่พึงปรารถนามากวนใจได้ ที่ดักกลิ่นที่ดีต้องมีคุณสมบัติหลักคือ สามารถขังน้ำได้สูงพอประมาณและสามารถถอดล้างเอาขยะออกได้สะดวก สำหรับช่องระบายน้ำที่พื้น (Floor Drain) นั้น เป็นปัญหาหลักที่ทำให้เกิดกลิ่น ควรติดตั้งที่ดักกลิ่นใต้ช่องระบายน้ำทุกตัว
จุดสำคัญในการวางระบบสุขาภิบาลที่ควรรู้
1. แนวระดับของท่อจะต้องลาดเอียงไม่น้อยกว่า 1ซม. ในทุกๆ 100 ซม. หากระยะท่อยาว 3 เมตร ความลาดเอียงต้องไม่น้อยกว่า 3 ซม. เป็นต้น
2. จุดหักงอของท่อควรมีให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และควรอยู่ในแนวเรียงกัน หลีกเลี่ยงการต่อท่อแบบตัว Y เพราะจะทำให้มีปัญหาอุดตันของท่อได้ง่ายกว่า
3. ติดตั้งท่ออากาศเอาไว้ที่ท่อส้วมด้วย โดยตำแหน่งต้องให้อยู่ใกล้ที่สุดเท่าที่จะทำได้ นับตั้งแต่ฐานส้วมลงไปต่อกับท่อเกรอะ มิเช่นนั้นจะมีปัญหากับชักโครก เช่น กดน้ำแล้วไม่ค่อยลงเพราะเกิดแรงดูดน้อย
4. คำนึงถึงในเรื่องการบำรุงรักษา ซ่อมแซมต่อในภายหลัง เช่น มีจุดสามารถล้วงหรือต้องมีการติดตั้งปลายท่อ service ในจุดที่เข้าถึงได้ง่าย
5. ถ่ายรูปแนวท่อต่างๆ เก็บไว้ให้โดยละเอียดเพราะหากเกิดการรั่วจะได้รู้แนวท่อว่าต้องสกัดที่ไหน เนื่องจากบ้านในปัจจุบันมักเดินท่อแบบฝังผนัง หากเราไม่ทราบตำแหน่งท่อ จะทำให้ต้องสกัดกำแพงเป็นวงกว้างกว่าที่จำเป็น
บ้านในปัจจุบันมักจะเดินท่อระบบสุขาภิบาลฝังผนังเพื่อความสวยงาม ดังนั้นการใช้บริการบริษัทรับสร้างบ้านที่ได้มาตรฐาน มีความเชี่ยวชาญ และมีวิศวกรควบคุมงาน จะทำให้เจ้าของบ้านวางใจได้ว่าระบบท่อต่างๆ ถูกออกแบบและจัดสร้างอย่างได้มาตรฐาน อีกทั้งยังมีแบบแปลนมอบให้หลังส่งมอบบ้าน ซึ่งสะดวกในการซ่อมแซมแก้ไขระบบในอนาคต