เรื่องใหญ่ของคนอยากมีบ้านที่มากกว่าการมองหาบริษัทรับสร้างบ้านที่น่าเชื่อถือ มีความเชี่ยวชาญ เป็นมืออาชีพ และแบบบ้านที่มีมาตรฐาน รวมถึงการเลือกใช้วัสดุที่ต้องให้ความสำคัญแล้ว ยังมีเรื่องของกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งมีข้อกำหนดต่างๆ ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ที่คนวางแผนสร้างบ้านต้องศึกษาและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้บ้านที่ถูกใจพร้อมๆ กับถูกกฎหมายไปด้วย โดยวันนี้ AYB ได้นำรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มาฝากเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างบ้านกันค่ะ
อัตราจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
พื้นที่เกษตรกรรม
อัตราเพดานภาษีอยู่ที่ 0.15% ทั้งนี้ขั้นของภาษีที่ดินประเภทเกษตรกรรมขึ้นอยู่กับประเภทของเจ้าของที่ดิน หากถือครองที่ดินเกษตรกรรมในฐานะบุคคลธรรมดา ถ้ามูลค่าที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับยกเว้นภาษี แต่หากเป็นในนามนิติบุคคล ที่ดินราคาไม่เกิน 75 ล้านบาท จะคิดในอัตรา 0.01% ไล่เรียงไปตามมูลค่าราคาที่ดิน
1) บุคคลธรรมดา
• มูลค่า 50 ล้านบาท ค่าภาษี 0 บาท
• มูลค่า 100 ล้านบาท ค่าภาษี 5,000 บาท
• มูลค่า 200 ล้านบาท ค่าภาษี 40,000 บาท
2) นิติบุคคล•
• มูลค่า 0-75 ล้านบาท อัตราภาษี 01
• มูลค่า 75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 03
• มูลค่า 100-500 ล้านบาท อัตราภาษี 05
• มูลค่า 500-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 07
• มูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 01
ที่ดินรกร้างว่างเปล่า บ้านไม่ใช้ประโยชน์ และอื่นๆ
ที่ดินประเภทนี้มีการกำหนดอัตราเพดานภาษีไว้ที่ 1.2% โดยหากที่ดินมีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.3% ขณะที่ที่ดินมูลค่า 50-200 ล้านบาท อัตราภาษีเพิ่มขึ้นเป็น 0.4% ไล่เรียงไปถึงมูลค่าที่ดินมากกว่า 5,000 ล้านบาท อัตราภาษีอยู่ที่ 0.7%
อย่างไรก็ตาม หากที่ดินรกร้างว่างเปล่า ยังคงปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์ ทุกๆ 3 ปี อัตราภาษีจะเพิ่มขึ้น 0.3% แต่อัตราภาษีรวมทั้งหมดต้องไม่เกิน 3%
ที่อยู่อาศัย
ถือเป็นที่ดินใช้ประโยชน์ ผู้เสียภาษีคือเจ้าของบ้านหลังหลัก คือผู้ที่มีชื่อบนโฉนดและทะเบียนบ้าน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าบ้าน ส่วนบ้านหลังอื่นๆ ใช้ชื่อเจ้าของบ้านที่มีชื่อในโฉนด แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านก็ได้
1) ที่อยู่อาศัย บ้านหลังหลัก (กรณีที่ดินและบ้านที่เจ้าของมีชื่อในทะเบียนบ้าน) สำหรับประเภทที่อยู่อาศัยที่เป็นบ้านหลังแรก
• มูลค่า 0-50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
• 50-75 ล้านบาท อัตราภาษี 03
• 75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 05
• 100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 1
2) ที่อยู่อาศัย บ้านหลังหลัก (กรณีบ้านที่เจ้าของมีชื่อในทะเบียนบ้าน)
• มูลค่า ไม่เกิน 10 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
• มูลค่า 10-50 ล้านบาท อัตราภาษี 03
• มูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 1
3) ที่อยู่อาศัย บ้านหลังอื่น สำหรับบ้านหลังอื่นนอกเหนือจากบ้านหลัก
มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษีเริ่มต้น 0.02% อัตราภาษีไล่เรียงขึ้นจนถึงอัตราภาษี 0.1% เมื่อบ้านมีราคาเกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป
การปรับอัตราภาษีจากสถานการโควิด 19
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ครม. มีมติลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2564 ลง 90% ของภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา 42 หรือมาตรา 95 แล้วแต่กรณี นั่นหมายความว่าปีนี้ผู้ที่ถือครองสินทรัพย์ประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะจ่ายภาษีเพียง 10% เท่านั้น โดยครอบคลุมที่ดินทุกประเภท
ตัวอย่างการคำนวณหลังลดเพดานอัตราภาษี
ภาษีที่ดินที่ต้องจ่าย = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษีที่ดิน
ดินรกร้างว่างเปล่า มูลค่า 10 ล้านบาท การคำนวณจะอยู่ในเกณฑ์มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ในสถานการณ์ปกติอัตราภาษีอยู่ที่ 0.3% ผู้ถือครองที่ดินนั้นจะต้องจ่ายค่าภาษี 30,000 บาท แต่สำหรับปี 2564 ที่มีการปรับลดค่าภาษีลง 90% จะทำให้เสียภาษีอยู่ที่ 3,000 บาท
พื้นที่เกษตรกรรม อัตราเพดานภาษีอยู่ที่ 0.15% ซึ่งกรณีนี้ต้องแยกว่าผู้ถือครองคือบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล
• ภาษีที่ดินที่ต้องจ่าย (บุคคลธรรมดา) = (มูลค่าที่ดิน – มูลค่าที่กฎหมายยกเว้น 50 ล้าน) x อัตราภาษีที่ดิน
เช่น ที่ดินเกษตรกรรม มูลค่า 60 ล้าน อัตราภาษีที่ 0.15% ผู้ถือครองที่ดินนั้นจะต้องจ่ายค่าภาษี 90,000 บาท แต่สำหรับปี 2564 ที่มีการปรับลดค่าภาษีลง 90% จะทำให้เสียอยู่ที่ 9,000 บาท
• ภาษีที่ดินที่ต้องจ่าย (นิติบุคคล) = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษีที่ดิน
เช่น ที่ดินเกษตรกรรม มูลค่า 10 ล้านบาท ซึ่งจะอยู่ในเกณฑ์อัตราภาษี 0.01% เมื่อคำนวณออกมาได้แล้วจะต้องเสียภาษี 1,000 บาท แต่สำหรับปี 2564 ที่มีการปรับลดค่าภาษีลง 90% จะทำให้เสียอยู่ที่ 100 บาท เท่านั้น
การศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องภาษีจะช่วยให้เจ้าของบ้านหรือที่ดินรู้เท่าทันกฎหมายและสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง หมดปัญหาเรื่องการหนีภาษีหรือการทำผิดกฎหมายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และสำหรับผู้ที่สนใจอยากสร้างบ้านสไตล์รีสอร์ทสามารถติดต่อขอคำปรึกษาได้ที่ AYB Resort House