เมื่อฝันอยากมีบ้านบนที่ดินสักผืน เจ้าของบ้านคงจินตนาการออกแบบบ้านในฝันให้มีพื้นที่ใช้สอยที่สามารถใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าทุกตารางนิ้ว แต่รู้หรือไม่ว่าการสร้างบ้านนั้นต้องมีการแบ่งสัดส่วนพื้นที่สร้างบ้านกับพื้นที่ที่ต้องปล่อยว่างไว้ แม้ที่ดินที่มีอยู่จะกว้างขวางหรือแคบแค่ไหนแต่คุณก็ไม่สามารถสร้างบ้านให้เต็มที่ดินแบบเต็ม 100% ได้ นั่นเป็นเพราะมีข้อกำหนดกฎหมายที่เรียกว่า ระยะร่น ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 นั่นเอง
ทำความรู้จักระยะร่น
ระยะร่น คือ ระยะห่างที่วัดจากตำแหน่งบนทางสาธารณะจนถึงแนวอาคาร ซึ่งมีทั้งการวัดจากเขตถนนและวัดจุดกึ่งกลางถนน โดยระยะร่นจะมีความแตกต่างกันไปตามประเภทอาคารและขนาดของถนน เช่น บ้านเดี่ยว ตึกแถว และอาคารสำนักงาน
การเว้นระยะร่นต้องมีการดำเนินการอย่างเคร่งครัด หากปล่อยปละละเลยข้อกำหนดเรื่องระยะร่นอาจทำให้อาคารหรือที่พักอาศัยที่สร้างมีปัญหาและผิดกฎหมาย หรือไม่ได้รับอนุญาตก่อสร้างเลยก็ได้
ระยะร่นและที่เว้นว่างสำคัญอย่างไร ?
• เพื่อความปลอดภัยด้านอัคคีภัยกฎหมายระยะร่นอาคารนั้นมีความสำคัญมากเมื่อเกิดอัคคีภัย เพราะระยะที่เว้นจากถนนจะช่วยให้ขับรถดับเพลิงเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ได้สะดวกยิ่งขึ้น และที่เว้นว่างรอบอาคารยังทำให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงสามารถดับเพลิงได้จากรอบด้าน และยังลดโอกาสที่ไฟจะลุกลามไปยังอาคารที่อยู่ใกล้เคียงได้อีกด้วย
• เพื่อสุขอนามัยของผู้อยู่อาศัยเมื่ออาคารแต่ละหลังอยู่ไม่ติดกันจนเกินไป ก็จะช่วยป้องกันการรบกวนกันระหว่างผู้อยู่อาศัยได้ส่วนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเสียง แสง กลิ่น และความเป็นส่วนตัว รวมถึงสัตว์ร้ายต่างๆ ก็จะเดินทางระหว่างอาคารได้ยากขึ้น และการมีช่องว่างระหว่างอาคารยังช่วยทำให้อากาศถ่ายเทกว่าการสร้างบ้านโดยไม่คำนึงถึงที่เว้นว่าง
• เพื่อการก่อสร้างและซ่อมแซมอาคารเมื่อที่เว้นว่างของอาคารมีเพียงพอ การก่อสร้าง ซ่อมแซม หรือต่อเติมอาคารก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการวางนั่งร้าน ติดตั้งรางระบายน้ำ การฉาบปูน หรือทาสีบ้าน เพื่อให้การก่อสร้างยังอยู่ในเขตที่ดินของตัวเอง โดยไม่รบกวนหรือรุกล้ำไปยังเขตที่ดินข้างเคียง
จึงกล่าวโดยสรุปง่ายๆ ว่าการสร้างบ้าน ไม่สามารถสร้างเต็มพื้นที่บ้านได้ ไม่ว่าพื้นที่นั้นจะเล็กหรือใหญ่ ต้องมีระยะร่น ซึ่งกำหนดให้สร้างบ้านได้ไม่เกิน 70% ของพื้นที่ ซึ่งมีข้อกำหนดคร่าวๆ ดังนี้
ระยะร่นกับเพื่อนบ้าน (ข้างบ้านและหลังบ้าน)
• กรณีมีช่องแสง ช่องลมสร้างบ้านโดยมีระยะร่นด้านข้างและด้านหลังบ้าน จะทำการวัดจากขอบผนังบ้านริมนอกสุดกับเขตที่ดินของเรา โดยอิงกับขนาดความสูงของอาคาร หากเป็นบ้านทั่วไปที่สูงไม่เกิน 9 เมตร มีช่องแสง ช่องลม บล็อกแก้ว ประตู หน้าต่าง ระเบียง ระยะร่นต้องห่างไม่น้อยกว่า 2 เมตร สำหรับชั้น 3 ของบ้าน 3 ชั้น หรือสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่เกิน 23 เมตร ให้มีระยะร่นอย่างน้อย 3 เมตร
• กรณีไม่มีช่องแสง ช่องลมกรณีที่ต้องการให้มีระยะร่นน้อยกว่าตามข้อกำหนด การออกแบบบ้านจะต้องออกแบบในลักษณะปิดทึบ ไม่ให้มีช่องแสงหรือช่องลมลอดผ่านได้ รวมทั้งบล็อกแก้ว ประตู หน้าต่าง ระเบียง โดยตามกฎหมายได้กำหนดให้สามารถร่นได้ 50 เซนติเมตร และหากต้องการสร้างชิดติดขอบที่ดินก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่อาคารดังกล่าวต้องมีความสูงไม่เกิน 15 เมตร และต้องให้เจ้าของที่ดินด้านดังกล่าว เซ็นหนังสือยินยอม หากเพื่อนบ้านไม่ยินยอมก็จะเป็นไปตามข้อกฎหมายร่นได้ 50 เซนติเมตรและต้องปิดทึบทั้งผนังเท่านั้น สำหรับอาคารที่มีชั้นดาดฟ้า ดาดฟ้าด้านดังกล่าวต้องทำผนังทึบสูงจากดาดฟ้าไม่น้อยกว่า 8 เมตร
ระยะร่นกับถนนสาธารณะ
• กรณีถนนสาธารณะ มีความกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะ อย่างน้อย 3 เมตร
• กรณีถนนสาธารณะ มีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะ อย่างน้อย 6 เมตร เช่น ถนนมีความกว้าง 8 เมตร วัดจากกึ่งกลางถนนอย่างน้อย 6 เมตร กรณีนี้ระยะร่นอาคารไปถึงเขตถนน กว้างอย่างน้อย 2 เมตร
• กรณีถนนสาธารณะ มีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะ อย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างของถนนสาธารณะ เช่น ถนนมีความกว้าง 12 เมตร ระยะร่นอย่างน้อย 2 เมตร
• กรณีถนนสาธารณะ มีความกว้างเกิน 20 เมตรขึ้นไป ให้ร่นแนวอาคารห่างจากถนนสาธารณะอย่างน้อย 2 เมตร
จะเห็นได้ว่าการสร้างบ้านหนึ่งหลัง นอกจากความละเอียดในแง่ของการถ่ายทอดความต้องการของเจ้าของบ้าน ให้ออกมาสมบูรณ์แบบที่สุดแล้ว ยังต้องอาศัยความรู้ในการออกแบบบ้าน ให้สอดคล้องกับกฎหมายเพื่อไม่กระทบต่อบริบทโดยรอบ ซึ่งหากได้รับการดูแลโดยบริษัทรับสร้างบ้านมืออาชีพ อย่าง AYB Resort House หรือ อยุธยา สร้างบ้าน จำกัด ผู้เชี่ยวชาญในการรับสร้างบ้าน ช่วยเนรมิตบ้านในฝันของท่าน มั่นใจด้วยประสบการณ์การรับสร้างบ้าน ดูแลตั้งแต่เขียนแบบจนเข็นกระเป๋าเข้าอยู่ได้ อุ่นใจแน่นอนค่ะ