สร้างบ้านสไตล์รีสอร์ท ควรเลือกต้นไม้อะไรให้ระบบรากไม่ทำลายโครงสร้างบ้าน?

สวนสวย บ้านร่มเย็น คือ หนึ่งในองค์ประกอบหลักของแบบบ้านสไตล์รีสอร์ท ที่จะทำให้บรรยากาศบ้านผ่อนคลายเหมาะกับเป็นที่พักผ่อน โดยปกติแล้วหากเป็นการออกแบบบ้านและการสร้างผ่านบริษัทรับสร้างบ้านจะมีผู้เชี่ยวชาญเรียกว่า Garden Designer หรือนักออกแบบสวน ช่วยคัดสรรต้นไม้ให้เหมาะกับพื้นที่ เพราะการเลือกต้นไม้นอกจากจะต้องคำนึงถึงความสวยงามแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกเรื่องคือ ความปลอดภัย ทั้งต่อผู้อยู่อาศัยและโครงสร้างของบ้าน วันนี้ AYB จะนำเทคนิคการเลือกต้นไม้ที่ระบบรากไม่ทำลายโครงสร้างบ้านมาฝากกันค่ะ   ระบบรากอันตรายต่อโครงสร้างบ้านอย่างไร? ธรรมชาติของรากต้นไม้ คือ ทำหน้าที่ดูดน้ำและแร่ธาตุในดิน เพื่อลำเลียงเลี้ยงส่วนต่างๆ ของต้นไม้ ยิ่งต้นไม้ใหญ่ยิ่งต้องการแร่ธาตุอาหารมากตามไปด้วย ดังนั้นก่อนปลูกต้นไม้ต้องทำความรู้จักระบบรากให้ดี เช่น รากงอกในแนวดิ่ง หรืองอกแบบแผ่ขยาย เพราะการแผ่ขยายของรากต้นไม้หากไม่มีการออกแบบบ้านหรือสวนให้มีระยะที่เหมาะสมก็จะส่งผลต่อโครงสร้างบ้านหรือสิ่งกีดขวางในระยะของรากได้ ในบางกรณีหากพ้นระยะการแผ่ของรากไปแล้ว ก็ยังต้องระวังอันตรายจากนกหรือสัตว์ต่างๆ ที่อาจคาบผลของต้นนั้นๆ มาตกแตกรากบนหลังคา สร้างปัญหารั่วซึม หากปล่อยชะล่าใจก็สามารถทำลายโครงสร้างได้เช่นกัน โดยจะเห็นได้จากภาพสิ่งก่อสร้างเก่าๆ หรือบ้านร้างที่ขาดการดูแล รากไม้ใหญ่แทรกทำลายโครงสร้างจนใช้งานต่อไม่ได้ ดังนั้นก่อนจะคุยเรื่องแก้ปัญหา ควรวางแผนเลือก และรู้จักระบบรากของต้นไม้ต่างๆ ดังนี้   1. จิกน้ำ เป็นไม้ต้นขนาดกลางที่ผลัดใบ สูงได้ถึง 5 – 18 เมตร ทรงต้นและพุ่มใบแผ่กว้าง เหมาะให้ร่มเงาหรือใช้เป็นไม้ประธานริมน้ำ สามารถปลูกใกล้บ้านได้แต่ต้องมีระยะปลูกที่เหมาะสมประมาณ…

ต่อเติมบ้านแบบไหน ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคารตามที่กฎหมายกำหนด?

หลายๆ คน เมื่อบ้านสร้างเสร็จและได้เข้าอยู่อาศัยจริงแล้ว ก็ต้องการจะปรับเปลี่ยนมุมต่างๆ ให้สะดวกลงตัวสำหรับการใช้สอย หรือต้องการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้มากขึ้น หรือต้องการให้บ้านสวยงามมากขึ้น จึงเป็นที่มาของการต่อเติมส่วนต่างๆ เช่น ต่อโรงรถ ต่อครัว ต่อชายคา แต่ทราบหรือไม่ว่า การต่อเติมบ้านนี้มีทั้งส่วนที่ต้องทำตามกฎหมายกำหนด ต้องขออนุญาตก่อนต่อเติม และส่วนที่สามารถต่อเติมได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพราะไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคารซึ่งจะมีส่วนไหนบ้าง และต้องอิงตามแบบบ้านหรือไม่ ไปติดตามกัน   ต่อเติมแบบไหน ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคารตามที่กฎหมายกำหนด? กฎหมายพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีเนื้อหาว่าด้วยเรื่องการดัดแปลง หรือต่อเติมอาคาร การต่อเติมบ้านหรือจะปรับบ้านใหม่โดยการเพิ่มพื้นที่ หรือทุบบางพื้นที่ในบ้านทิ้งไป ไม่สามารถทำตามอำเภอใจได้ แต่จำเป็นต้องยื่นเรื่องขออนุญาตกับทางเขต หรือองค์การบริหารส่วนตำบล หรือเทศบาล ในพื้นที่ด้วย เพื่อให้การก่อสร้างต่างๆ เป็นไปอย่างปลอดภัย และไม่เบียดเบียนเพื่อนบ้านหรือพื้นที่ส่วนรวม ซึ่งมีขั้นตอนและระยะเวลาในการขออนุญาตพอสมควร แต่ยังมีข้อยกเว้นที่สามารถดำเนินการได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต คือ   1. การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารโดยใช้วัสดุขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับแบบบ้านของเดิม เว้นแต่การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง หรือเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ หมายถึง การเปลี่ยนโครงสร้างบ้าน เช่น เสา คาน พื้น…

เช็กก่อนสร้างบ้าน ระยะต่างๆ ควรห่างจากเขตที่ดินเท่าไร?

อีกเรื่องที่ต้องคำนึงควบคู่กับการออกแบบบ้านนั่นก็คือ ระยะห่างจากเขตที่ดิน หลายครั้งที่เรานึกวาดแบบบ้านในใจแต่ไม่สามารถยื่นขออนุญาตก่อสร้างตามแบบนั้นๆ ได้ เพราะต้องรักษาระยะร่นต่างๆ ซึ่งมีกฎหมายควบคุมชัดเจน ตามกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 55 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2543 ฉะนั้นต้องเช็กก่อนสร้างบ้านเพื่อลดปัญหาต่างๆ โดยระยะห่างที่ไม่ผิดข้อกำหนดเป็นอย่างไรบ้าง วันนี้ AYB บริษัทรับสร้างบ้าน ได้นำรายละเอียดมาฝากค่ะ   ระยะร่นคืออะไร? ที่เว้นว่าง คือระยะห่างที่วัดจากแนวเขตที่ดินจนถึงแนวอาคารทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง ซึ่งกฎหมายได้กำหนดที่เว้นว่างไว้ทั้งอาคารเดี่ยวและอาคารชุดที่เรียงติดกัน ดังนั้นที่เว้นว่างกับระยะร่นบ้านจึงมีความแตกต่างกัน รู้หรือไม่? ตามกฎหมายสร้างบ้านกำหนดให้ที่ดินที่จะปลูกบ้าน จะต้องเปิดเป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 30% และอีก 70% ใช้เพื่อการสร้างบ้านที่พักอาศัย (โดยคำว่าที่ว่างในที่นี้ หมายถึงพื้นที่ที่ปราศจากสิ่งปกคลุม) กรณีไม่ใช่ที่อยู่อาศัย ต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ชั้นที่กว้างที่สุด   ระยะต่างๆ ที่ควรวางแผนแบบบ้านให้ห่างจากเขตที่ดิน 1. อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ด้านข้างอาคารที่ติดแนวเขตที่ดินผู้อื่นมีช่องเปิด (ช่องเปิด หมายถึง ประตู หน้าต่าง รวมถึงช่องแสง บล็อกแก้ว ช่องลม และระเบียง) ควรมีระยะถอยร่นอาคารจากขอบเขตที่ดิน…

ทำอย่างไรเมื่ออยากเติมสวนสวยในบ้านสไตล์รีสอร์ทแต่ไม่มีเวลาดูแล?

บ้านสไตล์รีสอร์ท มีจุดเด่นที่ผสมผสานความเป็นธรรมชาติเข้ากับพื้นที่ของบ้านทั้งภายในและภายนอก ดังนั้นสวนสวยๆ จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับบ้านสไตล์นี้ ซึ่งการออกแบบตกแต่งเริ่มแรกที่ว่าสำคัญแล้ว การดูแลรักษาให้สวนสวยอยู่ตลอดเวลายิ่งสำคัญกว่า เพราะต้องใช้ทั้งเวลาและความใส่ใจดูแล หากปล่อยปละละเลยท้ายที่สุดแล้วก็จะกลายเป็นสวนรกร้างไปตามกาลเวลา แต่ปัญหานี้ยังมีทางออกเพราะ AYB มีแนวทางการเติมสวนสวยในบ้านสไตล์รีสอร์ท ฉบับคนไม่มีเวลาดูแล จะมีวิธีการอย่างไรบ้าง ตามไปดูกันค่ะ   ทำอย่างไรเมื่ออยากเติมสวนสวยในบ้านสไตล์รีสอร์ทแต่ไม่มีเวลาดูแล?   1. เลือกพันธุ์ไม้ที่เหมาะสม ต้นไม้มีหลากหลายประเภท การดูแลเอาใจใส่ก็แตกต่างกัน บางต้นต้องการการดูแลมาก บางต้นอึดทนไม่สนคนเอาใจใส่ ดังนั้นสำหรับสายธรรมชาติแต่ขาดเวลา แนะนำให้เลือกพันธุ์ไม้ที่ทนทาน ไม่ต้องดูแลมาก ไม่ต้องการน้ำบ่อยๆ และทนต่อแสงแดดได้อย่างดีเยี่ยม เช่น ต้นวาสนา จั๋ง โกสน พิกุล หมาก ต้นไม้เหล่านี้รดน้ำ 5-7 วันครั้ง ก็ยังยืนต้นอยู่ได้สบายๆ และที่สำคัญต้นไม้ที่แนะนำดังกล่าว ไม่ค่อยผลัดใบ จึงไม่มีใบไม้ร่วงหล่นเต็มสวน ให้ต้องเสียเวลาเก็บกวาดบ่อยๆ อีกด้วย ซึ่งหากมีการวางแผนสร้างบ้านสไตล์รีสอร์ทพร้อมสวน และบอกความต้องการกับบริษัทรับสร้างบ้านที่ออกแบบบ้านให้ตั้งแต่เริ่มต้น ก็จะช่วยให้วางตำแหน่งและเลือกใช้ต้นไม้แต่ละชนิดได้ง่ายและลงตัวกับแบบบ้าน   2. สวยง่ายๆ ด้วยหญ้าเทียม สนามหญ้าสีเขียวขจี เป็นสวนในฝันของหลายๆ คน แต่การดูแลให้สนามหญ้าสวยฟูไม่รกรุงรังต้องใช้เวลามากกว่าการดูแลต้นไม้เสียอีก เพราะต้องหมั่นตัดแต่งทุกๆ…

สร้างบ้านหรือต่อเติมอย่างไร? ป้องกันปัญหากับเพื่อนบ้านและพื้นที่สาธารณะ

การสร้างบ้าน หรือต่อเติมบ้าน แม้จะอยู่ในที่ดินของตัวเอง ซึ่งซื้อหามาถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม แต่เจ้าของที่ดินหรือเจ้าของบ้านก็ไม่สามารถทำตามอำเภอใจได้ทั้งหมด เพราะกฎหมายมีข้อกำหนดในการออกแบบบ้าน ก่อสร้างบ้าน และต่อเติมบ้านไว้หลายประเด็น เพื่อป้องกันไม่ให้กระทำผิดกฎหมายก่อสร้าง หรือเป็นปัญหาเดือดร้อนกับเพื่อนบ้าน และพื้นที่สาธารณะได้ ดังนั้นวันนี้ AYB จะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการต่อเติมหรือสร้างบ้านที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันปัญหากับเพื่อนบ้านและพื้นที่สาธารณะ   สร้างบ้านหรือต่อเติมอย่างไร? ป้องกันปัญหากับเพื่อนบ้านและพื้นที่สาธารณะ   1. สร้างบ้าน หรือออกแบบบ้านเพื่อต่อเติมในที่ดินเดิม ต้องขออนุญาตก่อนการก่อสร้าง การสร้างบ้านหรือต่อเติมบ้านในที่ดินเดิม สามารถทำได้ แต่ต้องขออนุญาต ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่ระบุไว้ว่า หากมีการดัดแปลงหรือต่อเติมอาคาร จะต้องยื่นขออนุญาตดัดแปลงต่อเติมกับหน่วยงานในท้องที่ก่อน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ที่พักอาศัยประเภทบ้านเดี่ยวมักจะทำการดัดแปลงและต่อเติมอาคาร เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน จึงเข้าข่ายการดัดแปลงและต่อเติมที่ต้องขออนุญาต ดังนี้ • ถ้าเป็นการสร้างเพิ่มหรือลด จำนวนพื้นที่ใช้สอยมากกว่า 5 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องแจ้งกับพนักงานท้องถิ่น โดยที่ต้องให้สถาปนิก หรือวิศวกร ที่มีใบอนุญาตถูกต้องเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองแบบบ้านให้ด้วย • ต่อเติมส่วนที่เป็นเสา คาน ทำห้องใหม่ หากทำให้พื้นที่ใช้สอยเกิน 5 ตารางเมตร ต้องขออนุญาตทั้งหมด •…

เรื่องสำคัญต้องรู้! หลักการออกแบบที่จอดรถให้ความปลอดภัย เหมาะกับการใช้งาน

แม้จะเป็นเพียงที่จอดรถ แต่เรื่องความปลอดภัยก็ยังถือเป็นข้อสำคัญไม่แพ้กับการสร้างตัวบ้านส่วนหลักๆ เลย โดยทางเลือกในการออกแบบบ้านและสร้างที่จอดรถมีทั้งก่อสร้างพร้อมตัวบ้าน และการเว้นเพื่อการสร้างในอนาคต แต่ถึงจะเป็นการเว้นไว้เพื่อสร้างในอนาคตก็ยังคงต้องมีการวางแผน เตรียมพื้นที่เพื่อรองรับการจอดและน้ำหนักในอนาคตอยู่ดี ฉะนั้นหลายๆ บ้านจึงนิยมสร้างโรงรถให้จบไปพร้อมๆ กับการสร้างบ้านหลักไปเลย ซึ่งมีหลักการที่ต้องรู้เพื่อให้การสร้างที่จอดรถเป็นไปตามมาตรฐาน เหมาะสมกับการใช้งานและความปลอดภัยมาฝากค่ะ   แบบของที่จอดรถและความเหมาะสมในใช้งาน ก่อนจะไปถึงหลักการที่เหมาะสมเรื่องการใช้งาน ต้องมาดูแปลนของการออกแบบบ้านในฝัน และพื้นที่ของบ้านเบื้องต้นก่อนสร้างบ้านเพื่อวางแผนโครงสร้างที่มีความปลอดภัย โดยแบบของที่จอดรถหากมีพื้นที่น้อยจะออกแบบให้อยู่ใต้ถุนบ้าน หรือ ใต้อาคาร และที่จอดรถที่มีพื้นที่กว้างจะถูกออกแบบให้เป็นโครงสร้างแยก ดังนี้   1. ที่จอดรถแบบใต้ถุนบ้าน หรือใต้อาคาร เป็นแบบของที่จอดรถที่มักจะมีข้อจำกัดของบ้านในเรื่องขนาดและพื้นที่ โดยส่วนมากจะถูกชี้ตำแหน่งไว้หน้าบ้านไปโดยปริยาย เรียกว่าแปลงที่จอดรถเป็นมุมกิจกรรม มุมรับแขกแบบ Out door ไปจนถึงเป็นพื้นที่งานช่าง เรียกได้ว่าเป็นพื้นที่ All in one เลยก็ว่าได้ ข้อดีของที่จอดรถใต้ถุนของบ้านคือ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง และตำแหน่งที่สะดวก เพราะมักอยู่ใกล้ทางเข้า-ออกบ้าน ข้อเสียคือ การใช้โครงสร้างเดียวกันกับตัวบ้าน เมื่อใช้งานเป็นระยะเวลานาน และต้องรับน้ำหนักมากๆ อาจมีการชำรุดพื้นทรุด ควรหมั่นปรับปรุงพื้นที่ การวางแปลนบ้านจึงควรออกแบบงานก่อสร้างบ้านเพื่อรองรับน้ำหนักรถบริเวณนี้ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กหรือหินแกรนิต   2. ที่จอดรถแบบต่อเติมหลังคา ที่จอดรถแบบนี้จะเป็นพื้นที่ต่อเนื่องจากตัวบ้าน โดยต่อเติมเฉพาะหลังคาและโครงสร้างบนตำแหน่งทางเข้า-ออก คล้ายแบบโรงจอดใต้อาคาร…

7 ข้อดีของบ้านสไตล์รีสอร์ท ที่ให้มากกว่าการอยู่อาศัย

มนต์เสน่ห์ของบ้านสไตล์รีสอร์ท ที่ทำให้หลายคนยกให้เป็นบ้านในฝัน คือ บ้านที่โอบล้อมด้วยธรรมชาติ ทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกผ่อนคลาย ห่างไกลจากความเครียด เสมือนมีวันพักผ่อนตลอดเวลา อีกทั้งตัวบ้านยังมีความสวยงามเหมาะสมกับภูมิอากาศเมืองไทยอีกด้วย ดังนั้นวันนี้ AYB มี 7 ข้อดีของบ้านสไตล์รีสอร์ท ที่ให้มากกว่าการอยู่อาศัย มาฝากกัน จะมีรายละเอียดอะไรน่าสนใจ เหมาะกับการนำไปปรับสร้างบ้านมากน้อยแค่ไหน ตามไปดูกัน   7 ข้อดีของบ้านสไตล์รีสอร์ท ที่ให้มากกว่าการอยู่อาศัย   1. เปิดรับแสงธรรมชาติ บ้านสไตล์รีสอร์ทจะถูกบริษัทรับสร้างบ้านออกแบบให้มีพื้นที่เปิดโล่งแบบ Open Air โดยมักจะมีประตูกระจกหรือหน้าต่างบานใหญ่ เพื่อเปิดรับแสง และวิวธรรมชาติจากสวน ให้สมาชิกได้ดื่มด่ำกับบรรยากาศและวิวทิวทัศน์ภายนอก เช่น บ่อน้ำ บ่อเลี้ยงปลา สวนหิน สวนต้นไม้ ลานกิจกรรมภายนอก เพื่อให้ใกล้ชิดความเป็นธรรมชาติรอบๆ บ้าน สร้างความรู้สึกผ่อนคลายเสมือนการไปพักที่รีสอร์ท   2. มีเพดานสูง ระบายอากาศได้ดี แบบบ้านสไตล์รีสอร์ทมักจะมีเพดานสูงกว่าบ้านทั่วไป เพื่อให้ความรู้สึกโปร่ง โล่ง สบายตา สบายใจ และเมื่อเพดานสูงโปร่ง ข้อดีที่ตามมาคือช่วยในการหมุนเวียนอากาศ ระบายความร้อนภายในตัวบ้านได้เป็นอย่างดีอีกด้วย   3.…

สร้างบ้านในเมืองไทย เลือกหลังคาทรงไหนให้อยู่อาศัยได้ระยะยาว?

หลังคาเปรียบเสมือนมงกุฎของบ้าน เป็นองค์ประกอบที่ทำให้บ้านสวยสมบูรณ์ พร้อมทำหน้าที่บังแดด บังฝน ให้ผู้อยู่อาศัยอยู่อย่างปลอดภัยและอุ่นใจ ดังนั้นการเลือกทรงหลังคาจึงจะเลือกที่มีความเก๋ หรือให้เข้ากับสไตล์ของบ้านอย่างเดียวไม่ได้ แต่ยังต้องเลือกทรงที่เหมาะสมกับสภาพอากาศ สภาพพื้นที่ และสามารถใช้งานได้ในระยะยาวอีกด้วย ซึ่งจะมีทรงอะไรบ้าง AYB บริษัทรับสร้างบ้านสไตล์รีสอร์ท จะพาไปดูรายละเอียดกัน   สร้างบ้านในเมืองไทย เลือกหลังคาทรงไหนให้อยู่ได้ระยะยาว? แม้ว่าเมืองไทยจะเป็นเมืองร้อน แดดออกไม่ทันไรหลังคาก็พร้อมจะแห้งเหือดไปในพริบตา แต่กลับกันหากหลังคานั้นถูกสร้างขึ้นโดยที่ความชันไม่ได้องศา ต่อให้แดดแรงแค่ไหนก็ส่องไม่ทันน้ำที่ขังและทำให้เกิดปัญหารั่วซึมตามมาได้ ดังนั้นจึงมีการสร้างหลังคาและจัดวางองศาที่เหมาะสมกับวัสดุหลังคาแต่ละชนิด ดังนี้ 1. หลังคาแผ่นเหล็กรีดลอน (Metal sheet) ความลาดชันที่เหมาะสมตั้งแต่ 5 องศาขึ้นไป หากเป็นแผ่นเดียวยาวตลอดไม่มีแผ่นซ้อนควรลาดเอียง 3 องศาขึ้นไป 2. กระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์ ได้แก่ กระเบื้องลอนคู่ กระเบื้องลอนเล็ก กระเบื้อง 3 ลอน กระเบื้อง 4 ลอน ความลาดเอียงที่เหมาะสมคือ 15-40 องศา 3. กระเบื้องว่าวคอนกรีต กระเบื้องว่าวดินเผา ความลาดเอียงที่เหมาะสมตั้งแต่ 35-45 องศา4 4. กระเบื้องแบบโมเนียร์…

เทคนิคสร้างบ้านอย่างไร? คุมงบได้ไม่บานปลาย

รู้หรือไม่? บ้านหนึ่งหลังกว่าจะสร้างเสร็จสมบูรณ์ มีงบของงานก่อสร้างบ้านอยู่มากถึง 66% งานตกแต่งภายใน 22% ซึ่งเป็นเงินก้อนส่วนที่เราสามารถมองเห็นเป็นชิ้นเป็นอัน เช่น ปูน หิน ดิน อิฐ ตู้ เตียง โต๊ะ แต่ก็ยังมีค่าใช้จ่ายที่เราไม่สามารถมองเห็นหรือมองข้ามไปอีกหลายอย่าง และนี่เองอาจทำให้งบการสร้างบ้านบานปลาย กระเป๋าไหลไม่รู้ตัว วันนี้ AYB นำเทคนิคสร้างบ้านอย่างไรให้งบไม่บานปลาย มาฝากกันค่ะ   เทคนิคสร้างบ้านอย่างไร? คุมงบได้ไม่บานปลาย 1. รู้จักที่ดินหรือสภาพพื้นที่ ค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากตัวบ้าน คือ ที่ดิน การถม การขุด เราเรียกว่าการเตรียมที่ดิน หากตรวจสอบแล้วว่าที่ดินของเราต่ำกว่าพื้นที่ข้างเคียง หรือไม่มีที่ระบายน้ำ สภาพดินไม่เหมาะสมกับการปลูกบ้าน จำเป็นต้องมีการปรับแก้ ค่าใช้จ่ายในการเตรียมที่ดินจึงเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ควรรู้ และจัดสรรให้อยู่ในงบ ยิ่งหากพื้นที่ใหญ่ มีการขุด-ถม ปรับแก้เยอะ ก็ยิ่งทำให้งบบานปลายจ่ายก้อนใหญ่ ฉะนั้นจุดนี้จึงถือเป็นงบที่ไม่ควรละเลยเด็ดขาด   2. ยืนยันแบบถูกต้อง เป็นขั้นตอนที่ใช้ได้กับทุกสายงาน คือการตรวจยืนยันงาน ซึ่งงานออกแบบบ้านเมื่อผ่านการวัดวางตำแหน่งทิศทางโดยสถาปนิก หรือยืนยันแบบการก่อสร้างจากวิศวกรแล้ว หากลงมือก่อสร้างแล้วมีการทุบแก้ไข จะด้วยเหตุอันเนื่องจากเพื่อให้แบบทันสมัยขึ้น หรือเหตุสุดวิสัยจากช่าง ก็ทำให้เกิดความเสียหายทั้งนั้น…

เช็กก่อนสร้าง ที่ดินของคุณเหมาะกับการสร้างบ้านหรือไม่?

เคยได้ยินเรื่องพรหมลิขิต รักแรกพบอะไรแบบนี้ก็บ่อย ไม่เว้นแม้แต่เรื่องการเลือกซื้อที่ดิน บางทีแค่ขับรถผ่าน ชะตาต้องกันกระโดดลงรถไปซื้อเลยก็มี แต่วิธีนี้ไม่ใช่เหตุผลหลักที่คนทั่วไปจะใช้ตัดสินใจได้ โดยเฉพาะเพื่อการสร้างบ้าน เพราะการตัดสินใจครั้งใหญ่ที่จะผูกมัดเราไว้เป็นหลักสิบๆ ปี พร้อมกับการจ่ายก้อนใหญ่ ต้องเช็กข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียด ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้างนั้นตามไปดูกันค่ะ   เช็กก่อนสร้าง ที่ดินของคุณเหมาะกับการสร้างบ้านหรือไม่? 1. ทำเล ทำเลในที่นี้หมายถึงภาพรวมกว้างๆ เช่น ใกล้ที่ทำงานมั้ย เดินทางอย่างไร สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร อยู่ในพื้นที่อุตสาหกรรมไหม มีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด หรือเป็นทำเลทองล้อมรอบด้วยสำนักงานอาคารพาณิชย์ ชุมชน สถานที่สำคัญหรือเปล่า นอกจากปัจจัยต่างๆ ข้างต้น ยังมีเรื่องของฮวงจุ้ย ซึ่งข้อควรระวังในการเลือกที่ดินในทำเลต่างๆ คือ ต้องไม่เป็นโรงฆ่าสัตว์ โรงพยาบาล สุสาน ศาสนสถาน เพราะเป็นแหล่งรวมพลังงานด้านลบ ทั้งยังเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคอีกด้วย   2. รูปทรงที่ดิน รูปทรงที่เหมาะแก่การสร้างบ้านคือ รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือ สี่เหลี่ยมจัตุรัส เพราะง่ายและคุ้มค่าในเรื่องการออกแบบบ้าน เพื่อจัดสรรพื้นที่เป็นมุมต่างๆ ได้อย่างง่าย ที่สำคัญหากอนาคตมีการซื้อขายเกิดขึ้น รูปทรงของที่ดินก็มีส่วนในการประเมินราคาและการตัดสินใจของผู้ที่จะมาซื้อต่อเช่นกัน ยิ่งหากเป็นรูปทรงทางกว้างติดถนน ราคายิ่งสูงขึ้นไปอีก ในทางฮวงจุ้ยรูปทรงที่ดินต้องห้ามคือ รูปทรงสามเหลี่ยมหรือชายธง ซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลให้สมาชิกในบ้านเจ็บป่วยบ่อย…