การสร้างบ้านในประเทศไทย ส่วนที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ คือ บ้านที่อยู่เย็นสบาย เพราะประเทศเราเป็นเมืองร้อน มีแสงแดดตลอดทั้งปี อีกทั้งค่าไฟก็แพงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่วนสำคัญในการต่อสู่กับความร้อนเป็นด่านแรกของบ้าน
ก็คือ หลังคานั่นเอง หากเราเลือกหลังคาที่ช่วยป้องกันความร้อนได้ บ้านหลังงามของเราก็เย็นสบายตลอดทั้งปี แล้วจะเลือกหลังคาอย่างไรให้บ้านเย็นเสมือนอยู่ในธรรมชาติ ลองอ่านบทความนี้กันดู
1. เลือกรูปทรงให้เหมาะกับสภาพอากาศเมืองไทย
บ้านที่ดีและเหมาะสมกับอากาศเมืองไทยควรมีรูปทรงสูงโปร่ง มีโถงหลังคาเพื่อเปิดพื้นที่ให้มวลอากาศร้อนลอยตัวขึ้นไป ก่อให้เกิดการถ่ายเทออกและหมุนเวียนอากาศใหม่เพื่อระบายความร้อน และหลังคาควรมีองศาความชันสูง
เช่น หลังคาจั่ว หลังคามะนิลา และหลังคาปั้นหยา ซึ่งจะทำให้พื้นที่สัมผัสแสงแดดน้อยกว่าทรงหลังคาแบนเสมอกัน อีกทั้งเมื่อแสงอาทิตย์เปลี่ยนไปอีกด้าน ส่งผลให้ด้านตรงกันข้ามเกิดเงาช่วยบดบังให้กันและกันอีกด้วย
2. เลือกสีโทนอ่อนช่วยสะท้อนแสงแดด
หลังคาบ้านที่มีสีอ่อนส่งผลต่อความร้อนและความเย็นภายในบ้านอีกด้วย เพราะหลังคาที่มีสีสว่างจะสะสมความร้อนน้อยกว่าสีมืด เนื่องจากไม่สามารถดูดกลืนแสงบางแสงได้แต่จะทำการสะท้อนแสง หรือ Reflection แสงออกไปแทน
เช่น สีขาว สีเขียวอ่อน สีเทา แต่หากบ้านไหนที่ต้องการคุมโทนความเข้มของบ้านด้วยการใช้หลังคาสีเข้ม ก็ควรเลือกวัสดุ หลังคากันความร้อน ที่ผ่านการเคลือบชั้นสีที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน เพื่อช่วยลดความร้อนใต้หลังคาแทนได้
3. วัสดุมุงหลังคาที่ช่วยป้องกันความร้อน
การเลือกวัสดุมุงหลังคามีส่วนช่วยลดร้อนให้กับบ้านสุดรักเป็นอย่างมาก ในปัจจุบันวัสดุที่นิยมใช้มุงหลังคามากที่สุดก็คือ กระเบื้องหลังคา เนื่องจากมีรูปลักษณ์และราคาที่เหมาะสม มีรูปแบบให้เลือกหลากหลายเข้ากับบ้านได้ทุกสไตล์
แต่ชนิดที่มีความโดดเด่นในเรื่องการป้องกันความร้อนคือ กระเบื้องเซรามิก เพราะมีความทนทานป้องกันความร้อนได้ดี เนื้อกระเบื้องกักเก็บความร้อนน้อย คลายความร้อนได้เร็ว นอกจากนี้ยังมีอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน
คือ กระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์ เป็นวัสดุที่มีค่าการนำความร้อนต่ำคล้ายกัน สามารถป้องกันความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ระยะยื่นชายคาที่เหมาะสม
ความเหมาะสมของระยะชายคาเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่จะช่วยลดความร้อนใต้หลังคา เพราะนอกจากชายคาจะช่วยกันแสงแดดกันฝนแล้ว ยังช่วยระบายความร้อนใต้หลังคาให้บ้านเย็นสบายมากขึ้น โดยทั่วไปแล้วระยะยื่นชายคาที่เหมาะสม
สำหรับกันแดดจะอยู่ที่ 1.00 – 1.80 เมตร ขึ้นอยู่กับแต่ละห้องด้วย จึงต้องมีการออกแบบโดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้โครงสร้างที่เหมาะสม
5. ติดตั้งฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อนหลังคา (Insulation) หรือแผ่นกันความร้อน เป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยให้บ้านเย็น ที่สามารถนำมาใช้ได้กับบ้านสร้างใหม่และบ้านเก่า เพื่อที่ลดพลังงานความร้อนที่เข้ามาในตัวบ้าน ส่วนใหญ่นิยมติดตั้งบริเวณ ฝ้าเพดาน ใต้หลังคา
เพื่อป้องกันความร้อนที่ได้รับจากหลังคาโดยตรง โดยประสิทธิภาพในการกันความร้อนของ ฉนวนกันความร้อนนั้นเจ้าของบ้านสามารถพิจารณาได้จาก ค่าการกันความร้อน หรือ ค่า R โดยฉนวนที่มีความหนาจะมีค่า R ที่สูงตามไปด้วย
ฉนวนกันความร้อนหลังคา ที่นิยมใช้คือฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น เพราะซื้อง่าย สามารถติดตั้งได้ด้วยตนเองทั้งใต้หลังคาและใต้ฝ้าเพดาน อีกทั้งยังมีระยะเวลาในการใช้งานที่ยาวนาน และช่วยป้องกันเชื้อรา แมลง และสัตว์ ปลอดภัย
ไม่ลามไฟ ซึ่งฉนวนกันความร้อนก็ยังมีประเภทแยกย่อยไปอีก 4 ประเภทตามวัสดุของฉนวน
จะเห็นได้ว่าแม้บ้านเราจะอยู่ในเขตเมืองร้อน แต่ก็สามารถมีบ้านเย็นอยู่สบายได้ด้วยเทคนิควิธีต่างๆ ซึ่งหากเราคิดและวางแผนรับมือกับความร้อนไว้ตั้งแต่แรก ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการรับมือกับความร้อนสูง ประหยัดค่าไฟ
และอยู่สบายในระยะยาว นอกจาก 5 วิธีลดความร้อนจากหลังคาแล้ว บริษัทรับสร้างบ้าน บริษัทรับออกแบบบ้าน ที่เป็นมืออาชีพ และได้มาตรฐาน ยังมีคำแนะนำดีๆ ที่จะให้บ้านของเราสวยงาม มีคุณภาพ คุ้มราคาที่จ่ายไปอย่างแน่นอน