AYB Resort House https://ayb.co.th Fri, 23 Sep 2022 02:22:46 +0000 en-US hourly 1 MYOB https://ayb.co.th/wp-content/uploads/2017/06/cropped-logo-32x32.jpg AYB Resort House https://ayb.co.th 32 32 สร้างบ้านสไตล์รีสอร์ท ควรเลือกต้นไม้อะไรให้ระบบรากไม่ทำลายโครงสร้างบ้าน? https://ayb.co.th/build-resort-style-house/ Fri, 23 Sep 2022 02:22:46 +0000 https://ayb.co.th/?p=6723 สวนสวย บ้านร่มเย็น คือ หนึ่งในองค์ประกอบหลักของแบบบ้านสไตล์รีสอร์ท ที่จะทำให้บรรยากาศบ้านผ่อนคลายเหมาะกับเป็นที่พักผ่อน โดยปกติแล้วหากเป็นการออกแบบบ้านและการสร้างผ่านบริษัทรับสร้างบ้านจะมีผู้เชี่ยวชาญเรียกว่า Garden Designer หรือนักออกแบบสวน ช่วยคัดสรรต้นไม้ให้เหมาะกับพื้นที่ เพราะการเลือกต้นไม้นอกจากจะต้องคำนึงถึงความสวยงามแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกเรื่องคือ ความปลอดภัย ทั้งต่อผู้อยู่อาศัยและโครงสร้างของบ้าน วันนี้ AYB จะนำเทคนิคการเลือกต้นไม้ที่ระบบรากไม่ทำลายโครงสร้างบ้านมาฝากกันค่ะ   ระบบรากอันตรายต่อโครงสร้างบ้านอย่างไร? ธรรมชาติของรากต้นไม้ คือ ทำหน้าที่ดูดน้ำและแร่ธาตุในดิน เพื่อลำเลียงเลี้ยงส่วนต่างๆ ของต้นไม้ ยิ่งต้นไม้ใหญ่ยิ่งต้องการแร่ธาตุอาหารมากตามไปด้วย ดังนั้นก่อนปลูกต้นไม้ต้องทำความรู้จักระบบรากให้ดี เช่น รากงอกในแนวดิ่ง หรืองอกแบบแผ่ขยาย เพราะการแผ่ขยายของรากต้นไม้หากไม่มีการออกแบบบ้านหรือสวนให้มีระยะที่เหมาะสมก็จะส่งผลต่อโครงสร้างบ้านหรือสิ่งกีดขวางในระยะของรากได้ ในบางกรณีหากพ้นระยะการแผ่ของรากไปแล้ว ก็ยังต้องระวังอันตรายจากนกหรือสัตว์ต่างๆ ที่อาจคาบผลของต้นนั้นๆ มาตกแตกรากบนหลังคา สร้างปัญหารั่วซึม หากปล่อยชะล่าใจก็สามารถทำลายโครงสร้างได้เช่นกัน โดยจะเห็นได้จากภาพสิ่งก่อสร้างเก่าๆ หรือบ้านร้างที่ขาดการดูแล รากไม้ใหญ่แทรกทำลายโครงสร้างจนใช้งานต่อไม่ได้ ดังนั้นก่อนจะคุยเรื่องแก้ปัญหา ควรวางแผนเลือก และรู้จักระบบรากของต้นไม้ต่างๆ ดังนี้   1. จิกน้ำ เป็นไม้ต้นขนาดกลางที่ผลัดใบ สูงได้ถึง 5 – 18 เมตร ทรงต้นและพุ่มใบแผ่กว้าง เหมาะให้ร่มเงาหรือใช้เป็นไม้ประธานริมน้ำ สามารถปลูกใกล้บ้านได้แต่ต้องมีระยะปลูกที่เหมาะสมประมาณ…

The post สร้างบ้านสไตล์รีสอร์ท ควรเลือกต้นไม้อะไรให้ระบบรากไม่ทำลายโครงสร้างบ้าน? appeared first on AYB Resort House.

]]>

สวนสวย บ้านร่มเย็น คือ หนึ่งในองค์ประกอบหลักของแบบบ้านสไตล์รีสอร์ท ที่จะทำให้บรรยากาศบ้านผ่อนคลายเหมาะกับเป็นที่พักผ่อน โดยปกติแล้วหากเป็นการออกแบบบ้านและการสร้างผ่านบริษัทรับสร้างบ้านจะมีผู้เชี่ยวชาญเรียกว่า Garden Designer หรือนักออกแบบสวน ช่วยคัดสรรต้นไม้ให้เหมาะกับพื้นที่ เพราะการเลือกต้นไม้นอกจากจะต้องคำนึงถึงความสวยงามแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกเรื่องคือ ความปลอดภัย ทั้งต่อผู้อยู่อาศัยและโครงสร้างของบ้าน วันนี้ AYB จะนำเทคนิคการเลือกต้นไม้ที่ระบบรากไม่ทำลายโครงสร้างบ้านมาฝากกันค่ะ

 

ระบบรากอันตรายต่อโครงสร้างบ้านอย่างไร?

ธรรมชาติของรากต้นไม้ คือ ทำหน้าที่ดูดน้ำและแร่ธาตุในดิน เพื่อลำเลียงเลี้ยงส่วนต่างๆ ของต้นไม้ ยิ่งต้นไม้ใหญ่ยิ่งต้องการแร่ธาตุอาหารมากตามไปด้วย ดังนั้นก่อนปลูกต้นไม้ต้องทำความรู้จักระบบรากให้ดี เช่น รากงอกในแนวดิ่ง หรืองอกแบบแผ่ขยาย เพราะการแผ่ขยายของรากต้นไม้หากไม่มีการออกแบบบ้านหรือสวนให้มีระยะที่เหมาะสมก็จะส่งผลต่อโครงสร้างบ้านหรือสิ่งกีดขวางในระยะของรากได้

ในบางกรณีหากพ้นระยะการแผ่ของรากไปแล้ว ก็ยังต้องระวังอันตรายจากนกหรือสัตว์ต่างๆ ที่อาจคาบผลของต้นนั้นๆ มาตกแตกรากบนหลังคา สร้างปัญหารั่วซึม หากปล่อยชะล่าใจก็สามารถทำลายโครงสร้างได้เช่นกัน โดยจะเห็นได้จากภาพสิ่งก่อสร้างเก่าๆ หรือบ้านร้างที่ขาดการดูแล รากไม้ใหญ่แทรกทำลายโครงสร้างจนใช้งานต่อไม่ได้ ดังนั้นก่อนจะคุยเรื่องแก้ปัญหา ควรวางแผนเลือก และรู้จักระบบรากของต้นไม้ต่างๆ ดังนี้

 

1. จิกน้ำ

เป็นไม้ต้นขนาดกลางที่ผลัดใบ สูงได้ถึง 5 – 18 เมตร ทรงต้นและพุ่มใบแผ่กว้าง เหมาะให้ร่มเงาหรือใช้เป็นไม้ประธานริมน้ำ สามารถปลูกใกล้บ้านได้แต่ต้องมีระยะปลูกที่เหมาะสมประมาณ 3 – 6 เมตร ดอกมีกลิ่นหอม ส่วนผลที่หล่นจากต้นลงพื้นดินสามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้ ซึ่งหากพบว่ามีการงอกใหม่ควรรีบถอนออกก่อนที่รากจะฝังลึก


2. ปีบ หรือกาสะลอง

ต้นปีบมีกลิ่นหอมอ่อนๆ และยังให้ร่มเงา ถึงต้นปีบจะมีรากที่แผ่กิ่งก้าน แต่ไม่ใช่ระดับที่น่ากลัวสำหรับบ้าน สามารถแก้ไขได้ด้วยการหมั่นตัดแต่งกิ่ง แต่มีข้อเสียเล็กน้อย คือใบและดอกร่วงง่าย ต้องคอยเก็บกวาดและทำความสะอาดอยู่เสมอ


3. เสี้ยวป่า หรือชงโค

ต้นเสี้ยวป่า หรือที่เราคุ้นหูกันในชื่อชงโค จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แต่สูงได้ถึง 10 เมตร ทรงพุ่มกลมเตี้ย แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มเตี้ย สามารถปลูกเป็นไม้ประธานใกล้บ้านได้ และปลูกได้ทุกทิศรอบตัวอาคาร ซึ่งที่สำคัญคือควรปลูกในจุดที่สามารถดูแล ตัดแต่งกิ่งก้านได้สะดวก


4. ล่ำซำ

ต้นล่ำซำก็เป็นอีกหนึ่งพันธุ์ไม้ประธานที่นิยมปลูกใกล้อาคาร ชื่อมีความหมายดี ฟอร์มและใบสวย ที่สำคัญรากของต้นล่ำซำจะเป็นแนวดิ่ง ไม่แผ่ออกไปรบกวนตัวบ้าน แต่หากต้องการปลูก ควรเว้นระยะจากตัวบ้านประมาณ 4-5 เมตร ล่ำซำถือเป็นต้นไม้ที่แข็งแรง ทนแล้ง และไม่ค่อยมีโรค หรือแมลงรบกวน


5. กันเกรา

ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เหมาะกับแบบบ้านสไตล์รีสอร์ทที่มีพื้นที่สวนกว้าง ทรงต้นไม่ตรงนัก สูงประมาณ 10-15 เมตร (อาจสูงได้ถึง 25 เมตร) นิยมปลูกเพื่อเป็นร่มเงาและไม้ประดับ ดอกต้นกันเกรามีสีสันสวยงาม กลิ่นหอมเย็นชื่นใจ ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคและบำรุงธาตุได้


6. ต้นแคนา

ไม้ยืนต้น ทรงกระบอกสูง มีพุ่มใบและฝักสวย ส่วนมากมักปลูกเพื่อให้ร่มเงาช่วยเสริมให้สวนสวยได้ ที่สำคัญดอกและยอดของต้นแคนา สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายเมนู ต้นแคนาเป็นต้นที่ชอบแดด สูง 10-20 เมตร ลำต้นตรงมักแตกกิ่งต่ำ เจริญเติบโตได้ในดินร่วนซุยแทบทุกชนิด

 

7. ซิลเวอร์โอ๊ก

ซิลเวอร์โอ๊กเป็นไม้ยืนต้นทรงสูงที่ไปได้ไกลถึง 20-30 เมตร และยังเลี้ยงง่าย ทนทานต่อสภาพแวดล้อม จะร้อนหรือว่าหนาวก็สามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้สบายๆ แถมยังเป็นไม้ผลัดใบที่มีใบร่วงหล่นน้อย มีใบเขียวตลอดทั้งปี แผ่กิ่งก้านสาขา ให้ร่มเงา ส่วนมากมักปลูกเป็นไม้ประดับหรือเป็นแนวรั้ว

การดูแลสวนให้สวยน่าพักผ่อนเป็นอีกหนึ่งภารกิจที่ต้องลงตารางตัดแต่งให้สม่ำเสมอ ยิ่งเข้าหน้าฝน ผล เมล็ดต่างแตกรากหยั่งลงดินอย่างเผลอไม่ได้ รวมถึงต้องหมั่นตกแต่งราก ลดความเสี่ยงกับตัวบ้าน เพราะการที่เรือนยอดด้านต่างๆ น้ำหนักไม่สมดุลกัน เป็นเรื่องเสี่ยงอย่างมากที่จะทำให้ต้นไม้โค่นล้ม ซึ่งเป็นอันตรายโดยตรงกับสมาชิกในบ้านและโครงสร้างบ้านค่ะ

 

The post สร้างบ้านสไตล์รีสอร์ท ควรเลือกต้นไม้อะไรให้ระบบรากไม่ทำลายโครงสร้างบ้าน? appeared first on AYB Resort House.

]]>
ต่อเติมบ้านแบบไหน ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคารตามที่กฎหมายกำหนด? https://ayb.co.th/house-additions-building/ Fri, 16 Sep 2022 08:32:43 +0000 https://ayb.co.th/?p=6699 หลายๆ คน เมื่อบ้านสร้างเสร็จและได้เข้าอยู่อาศัยจริงแล้ว ก็ต้องการจะปรับเปลี่ยนมุมต่างๆ ให้สะดวกลงตัวสำหรับการใช้สอย หรือต้องการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้มากขึ้น หรือต้องการให้บ้านสวยงามมากขึ้น จึงเป็นที่มาของการต่อเติมส่วนต่างๆ เช่น ต่อโรงรถ ต่อครัว ต่อชายคา แต่ทราบหรือไม่ว่า การต่อเติมบ้านนี้มีทั้งส่วนที่ต้องทำตามกฎหมายกำหนด ต้องขออนุญาตก่อนต่อเติม และส่วนที่สามารถต่อเติมได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพราะไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคารซึ่งจะมีส่วนไหนบ้าง และต้องอิงตามแบบบ้านหรือไม่ ไปติดตามกัน   ต่อเติมแบบไหน ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคารตามที่กฎหมายกำหนด? กฎหมายพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีเนื้อหาว่าด้วยเรื่องการดัดแปลง หรือต่อเติมอาคาร การต่อเติมบ้านหรือจะปรับบ้านใหม่โดยการเพิ่มพื้นที่ หรือทุบบางพื้นที่ในบ้านทิ้งไป ไม่สามารถทำตามอำเภอใจได้ แต่จำเป็นต้องยื่นเรื่องขออนุญาตกับทางเขต หรือองค์การบริหารส่วนตำบล หรือเทศบาล ในพื้นที่ด้วย เพื่อให้การก่อสร้างต่างๆ เป็นไปอย่างปลอดภัย และไม่เบียดเบียนเพื่อนบ้านหรือพื้นที่ส่วนรวม ซึ่งมีขั้นตอนและระยะเวลาในการขออนุญาตพอสมควร แต่ยังมีข้อยกเว้นที่สามารถดำเนินการได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต คือ   1. การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารโดยใช้วัสดุขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับแบบบ้านของเดิม เว้นแต่การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง หรือเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ หมายถึง การเปลี่ยนโครงสร้างบ้าน เช่น เสา คาน พื้น…

The post ต่อเติมบ้านแบบไหน ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคารตามที่กฎหมายกำหนด? appeared first on AYB Resort House.

]]>

หลายๆ คน เมื่อบ้านสร้างเสร็จและได้เข้าอยู่อาศัยจริงแล้ว ก็ต้องการจะปรับเปลี่ยนมุมต่างๆ ให้สะดวกลงตัวสำหรับการใช้สอย หรือต้องการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้มากขึ้น หรือต้องการให้บ้านสวยงามมากขึ้น จึงเป็นที่มาของการต่อเติมส่วนต่างๆ เช่น ต่อโรงรถ ต่อครัว ต่อชายคา แต่ทราบหรือไม่ว่า การต่อเติมบ้านนี้มีทั้งส่วนที่ต้องทำตามกฎหมายกำหนด ต้องขออนุญาตก่อนต่อเติม และส่วนที่สามารถต่อเติมได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เพราะไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคารซึ่งจะมีส่วนไหนบ้าง และต้องอิงตามแบบบ้านหรือไม่ ไปติดตามกัน

 

ต่อเติมแบบไหน ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคารตามที่กฎหมายกำหนด?

กฎหมายพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีเนื้อหาว่าด้วยเรื่องการดัดแปลง หรือต่อเติมอาคาร การต่อเติมบ้านหรือจะปรับบ้านใหม่โดยการเพิ่มพื้นที่ หรือทุบบางพื้นที่ในบ้านทิ้งไป ไม่สามารถทำตามอำเภอใจได้ แต่จำเป็นต้องยื่นเรื่องขออนุญาตกับทางเขต หรือองค์การบริหารส่วนตำบล หรือเทศบาล ในพื้นที่ด้วย เพื่อให้การก่อสร้างต่างๆ เป็นไปอย่างปลอดภัย และไม่เบียดเบียนเพื่อนบ้านหรือพื้นที่ส่วนรวม ซึ่งมีขั้นตอนและระยะเวลาในการขออนุญาตพอสมควร แต่ยังมีข้อยกเว้นที่สามารถดำเนินการได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต คือ

 

1. การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารโดยใช้วัสดุขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับแบบบ้านของเดิม เว้นแต่การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง หรือเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ

หมายถึง การเปลี่ยนโครงสร้างบ้าน เช่น เสา คาน พื้น โครงหลังคา และส่วนอื่นที่นับเป็นงานโครงสร้างทั้งหมดที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง เรียกว่า บ้านปูน หรือบ้านที่ทำมาจากโครงสร้างเหล็ก จำเป็นต้องขออนุญาตทั้งหมด

ส่วนแบบบ้านที่ทำมาจาก โครงสร้างไม้ สามารถเปลี่ยนเป็นไม้ใหม่ได้ โดยต้องมีขนาด จำนวน และชนิดเดียวกันกับของเดิม เช่น บ้านไม้สัก ต้องการเปลี่ยนเสาบ้าน ซึ่งเป็นเสาไม้สักขนาด 30 x 30 ซม. จำนวน 4 ต้น หากเปลี่ยนเป็นไม้สักขนาดและจำนวนเท่าเดิม ไม่ต้องขออนุญาต


2. การเปลี่ยนส่วนต่างๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร โดยใช้วัสดุชนิดเดียวกับแบบบ้านของเดิม หรือวัสดุชนิดอื่นซึ่งไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมส่วนหนึ่งส่วนใดเกินร้อยละสิบ

หมายถึง การปรับเปลี่ยนส่วนที่ไม่ใช่งานโครงสร้างบ้าน เช่น ผนัง ฝ้าเพดาน ประตู หน้าต่าง สามารถปรับเปลี่ยนได้แต่ต้องใช้วัสดุเดิม หากจะใช้วัสดุอื่นทดแทน ต้องเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักน้อยกว่าหรือเท่ากันกับวัสดุเดิม เช่น เดิมเป็นผนังก่ออิฐมอญแดง ต้องการทุบแล้วก่อใหม่ หากใช้วัสดุอิฐมอญแดงเหมือนเดิม หรือเป็นอิฐมวลเบา หรือ Smart Board บุฉนวนกันความร้อน สามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเพราะอิฐมวลเบา หรือ Smart Board มีน้ำหนักน้อยกว่าอิฐมอญแดง ซึ่งหากจะให้การดำเนินการเป็นไปอย่างปลอดภัย ควรปรึกษาบริษัทรับสร้างบ้าน


3. การเปลี่ยนแปลง การต่อเติม การเพิ่ม การลด หรือการขยายซึ่งลักษณะ ขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ของส่วนต่างๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคารซึ่งไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมส่วนหนึ่งส่วนใดเกินร้อยละสิบ

หมายถึง การปรับเปลี่ยนที่ไม่ใช่งานโครงสร้างอาคาร ไม่ว่าจะเป็นงานต่อเติมขยายพื้นที่ หรืองานทุบลดพื้นที่ ถ้าเราแยกโครงสร้างการต่อเติมจากโครงสร้างหลักของบ้านก็สามารถทำได้ เพราะไม่ไปเพิ่มน้ำหนักให้กับโครงสร้างเดิม เช่น ปูกระเบื้องลานซักล้างเพิ่ม ก่อเคาน์เตอร์ครัวเพิ่มภายในบ้าน หากน้ำหนักไม่เกิน 10% ของโครงสร้าง (ซึ่งส่วนมากมักไม่เกิน 10% ของโครงสร้างบ้านส่วนใดส่วนหนึ่งอยู่แล้ว) ก็สามารถทำได้เลยไม่ต้องขออนุญาต ทั้งนี้บริษัทรับสร้างบ้านอาจให้คำแนะนำหรือช่วยดำเนินการได้ดีที่สุด


4. การลดหรือการขยายเนื้อที่ของพื้นชั้นหนึ่งชั้นใด ให้มีเนื้อที่น้อยลงหรือมากขึ้นรวมกันไม่เกินห้าตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน

หมายถึง สามารถเพิ่มหรือลดพื้นที่ชั้น 1 หรือ ชั้น 2 ของบ้านได้ไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มส่วนของเสาหรือคาน เพื่อรับน้ำหนักโครงสร้างเพิ่ม หากต่อเติมไม่เกินนี้ ไม่ต้องขออนุญาต


5. การลดหรือการขยายเนื้อที่ของหลังคา ให้มีเนื้อที่มากขึ้นรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคานจากแบบบ้านเดิม

หมายถึง เพิ่มหรือลดหลังคาของบ้านได้ไม่เกิน 5 ตารางเมตร เช่น การต่อเติมหลังคาหลังบ้านหรือที่จอดรถในรูปแบบโครงหลังคาที่ยึดติดกับคานของโครงสร้างบ้านเดิม โดยไม่มีคานและเสามารับน้ำหนักเพิ่มด้วย รูปแบบนี้ไม่ต้องขออนุญาต


6. การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารอยู่อาศัยที่มีขนาดพื้นที่ติดตั้งไม่เกิน 160 ตารางเมตร และมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยต้องมีผลการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงที่กระทำและรับรองโดยวิศวกรโยธาตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรว่าสามารถติดตั้งได้อย่างปลอดภัย และแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบก่อนดำเนินการ

หมายถึง สามารถติดตั้งแผง Solar Cell ได้บนหลังคาบ้าน โดยต้องมีขนาดไม่เกิน 160 ตารางเมตร และมีน้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัม/ตารางเมตร โดยต้องให้วิศวกรเป็นผู้เซ็นรับรองความปลอดภัยของโครงสร้าง ส่งให้เจ้าหน้าที่เขต หรือองค์การบริหารส่วนตำบล หรือเทศบาลนั้นๆ รับทราบ ไม่ต้องขออนุญาตเจ้าพนักงาน

รู้อย่างนี้แล้ว ท่านที่วางแผนจะต่อเติมดัดแปลงบ้าน ลองพิจารณาดูว่า ขอบเขตงานของบ้านเราต้องทำเรื่องขออนุญาตหรือไม่ หากไม่มั่นใจสามารถปรึกษากับบริษัทรับสร้างบ้าน ที่เป็นมืออาชีพและได้มาตรฐาน กระบวนการขออนุญาต หรือการต่อเติมต่างๆ จะไม่สร้างความปวดหัวให้เจ้าของบ้านอย่างแน่นอน

 

 

The post ต่อเติมบ้านแบบไหน ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคารตามที่กฎหมายกำหนด? appeared first on AYB Resort House.

]]>
เช็กก่อนสร้างบ้าน ระยะต่างๆ ควรห่างจากเขตที่ดินเท่าไร? https://ayb.co.th/check-before-building-house/ Fri, 09 Sep 2022 08:21:11 +0000 https://ayb.co.th/?p=6695 อีกเรื่องที่ต้องคำนึงควบคู่กับการออกแบบบ้านนั่นก็คือ ระยะห่างจากเขตที่ดิน หลายครั้งที่เรานึกวาดแบบบ้านในใจแต่ไม่สามารถยื่นขออนุญาตก่อสร้างตามแบบนั้นๆ ได้ เพราะต้องรักษาระยะร่นต่างๆ ซึ่งมีกฎหมายควบคุมชัดเจน ตามกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 55 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2543 ฉะนั้นต้องเช็กก่อนสร้างบ้านเพื่อลดปัญหาต่างๆ โดยระยะห่างที่ไม่ผิดข้อกำหนดเป็นอย่างไรบ้าง วันนี้ AYB บริษัทรับสร้างบ้าน ได้นำรายละเอียดมาฝากค่ะ   ระยะร่นคืออะไร? ที่เว้นว่าง คือระยะห่างที่วัดจากแนวเขตที่ดินจนถึงแนวอาคารทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง ซึ่งกฎหมายได้กำหนดที่เว้นว่างไว้ทั้งอาคารเดี่ยวและอาคารชุดที่เรียงติดกัน ดังนั้นที่เว้นว่างกับระยะร่นบ้านจึงมีความแตกต่างกัน รู้หรือไม่? ตามกฎหมายสร้างบ้านกำหนดให้ที่ดินที่จะปลูกบ้าน จะต้องเปิดเป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 30% และอีก 70% ใช้เพื่อการสร้างบ้านที่พักอาศัย (โดยคำว่าที่ว่างในที่นี้ หมายถึงพื้นที่ที่ปราศจากสิ่งปกคลุม) กรณีไม่ใช่ที่อยู่อาศัย ต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ชั้นที่กว้างที่สุด   ระยะต่างๆ ที่ควรวางแผนแบบบ้านให้ห่างจากเขตที่ดิน 1. อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ด้านข้างอาคารที่ติดแนวเขตที่ดินผู้อื่นมีช่องเปิด (ช่องเปิด หมายถึง ประตู หน้าต่าง รวมถึงช่องแสง บล็อกแก้ว ช่องลม และระเบียง) ควรมีระยะถอยร่นอาคารจากขอบเขตที่ดิน…

The post เช็กก่อนสร้างบ้าน ระยะต่างๆ ควรห่างจากเขตที่ดินเท่าไร? appeared first on AYB Resort House.

]]>

อีกเรื่องที่ต้องคำนึงควบคู่กับการออกแบบบ้านนั่นก็คือ ระยะห่างจากเขตที่ดิน หลายครั้งที่เรานึกวาดแบบบ้านในใจแต่ไม่สามารถยื่นขออนุญาตก่อสร้างตามแบบนั้นๆ ได้ เพราะต้องรักษาระยะร่นต่างๆ ซึ่งมีกฎหมายควบคุมชัดเจน ตามกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 55 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2543 ฉะนั้นต้องเช็กก่อนสร้างบ้านเพื่อลดปัญหาต่างๆ โดยระยะห่างที่ไม่ผิดข้อกำหนดเป็นอย่างไรบ้าง วันนี้ AYB บริษัทรับสร้างบ้าน ได้นำรายละเอียดมาฝากค่ะ

 

ระยะร่นคืออะไร?

ที่เว้นว่าง คือระยะห่างที่วัดจากแนวเขตที่ดินจนถึงแนวอาคารทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง ซึ่งกฎหมายได้กำหนดที่เว้นว่างไว้ทั้งอาคารเดี่ยวและอาคารชุดที่เรียงติดกัน ดังนั้นที่เว้นว่างกับระยะร่นบ้านจึงมีความแตกต่างกัน

  • รู้หรือไม่? ตามกฎหมายสร้างบ้านกำหนดให้ที่ดินที่จะปลูกบ้าน จะต้องเปิดเป็นที่ว่างไว้ไม่น้อยกว่า 30% และอีก 70% ใช้เพื่อการสร้างบ้านที่พักอาศัย (โดยคำว่าที่ว่างในที่นี้ หมายถึงพื้นที่ที่ปราศจากสิ่งปกคลุม) กรณีไม่ใช่ที่อยู่อาศัย ต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ชั้นที่กว้างที่สุด

 

ระยะต่างๆ ที่ควรวางแผนแบบบ้านให้ห่างจากเขตที่ดิน

1. อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ด้านข้างอาคารที่ติดแนวเขตที่ดินผู้อื่นมีช่องเปิด (ช่องเปิด หมายถึง ประตู หน้าต่าง รวมถึงช่องแสง บล็อกแก้ว ช่องลม และระเบียง) ควรมีระยะถอยร่นอาคารจากขอบเขตที่ดิน อย่างน้อย 2 เมตร

2. อาคารที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่เกิน 23 เมตร ด้านข้างอาคารที่ติดแนวเขตที่ดินผู้อื่นมีช่องเปิด ควรมีระยะถอยร่นอาคารจากขอบเขตที่ดิน อย่างน้อย 3 เมตร

3. อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 15 เมตร ด้านข้างอาคารที่ติดแนวเขตที่ดินผู้อื่นไม่มีช่องเปิด ควรมีระยะถอยร่นอาคารจากขอบเขตที่ดิน อย่างน้อย 5 เมตร แต่หากเพื่อนบ้านเซ็นยินยอมก็สามารถสร้างชิดเขตที่ดินได้

4. อาคารที่มีความสูง 15 – 23 เมตร ด้านข้างอาคารที่ติดแนวเขตที่ดินผู้อื่นไม่มีช่องเปิด ควรมีระยะถอยร่นอาคารจากขอบเขตที่ดิน อย่างน้อย 5 เมตร ไม่ว่าเพื่อนบ้านจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม

5. ที่ดินชิดถนนหักมุมจะต้องปาดแนวรั้วด้านละ 4 เมตร หากบ้านมีที่ดินอยู่ติดมุมถนน โดยมีมุมหักถนน 2 ด้านน้อยกว่า 135 องศา และถนนกว้าง 3 เมตรขึ้นไป จะต้องปาดมุมรั้วด้านละ 4 เมตร เพื่อไม่ให้รั้วบ้านหรือกำแพงบดบังทัศนวิสัยการมองเห็นของผู้ขับขี่รถยนต์

6. สร้างบ้านชิดรั้วบ้านได้ แต่ผนังบ้านและรั้วต้องปิดทึบ กรณีที่สร้างบ้านหากมีการต่อเติมบ้านจนทำให้พื้นที่บ้านต้องชิดรั้วบ้าน สามารถชิดได้แต่ต้องได้รับการยินยอมจากเพื่อนบ้านเป็นลายลักษณ์อักษร แต่เพื่อลดข้อพิพาทในอนาคตควรเว้นระยะห่างตัวบ้านจากรั้วบ้านหรือแนวที่ดิน ไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร แต่ยังคงต้องเป็นผนังทึบเช่นเดิม

7. ห้ามล้ำพื้นที่สาธารณะ ตัวบ้านต้องมีระยะห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 3 เมตรโดยวัดจากกึ่งกลางถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 6 เมตร รวมถึงจะต้องไม่ล้ำเขตพื้นที่ดินผู้อื่นด้วย

 

ทำไมต้องมีระยะร่นและที่เว้นว่าง?

1) เพื่อความปลอดภัยด้านอัคคีภัย กฎหมายระยะร่นอาคารนั้นมีความสำคัญมากเมื่อเกิดอัคคีภัย เพราะระยะร่นอาคาร และที่เว้นว่างรอบอาคารยังทำให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงสามารถดับเพลิงได้จากรอบด้าน และยังลดโอกาสที่ไฟจะลุกลามไปยังอาคารที่อยู่ใกล้เคียงกันอีกด้วย

2) เพื่อสุขอนามัยของผู้อยู่อาศัย ระยะร่นอาคาร ที่ไม่ติดกันจนเกินไป จะช่วยป้องกันการรบกวนกันระหว่างผู้อยู่อาศัยได้ส่วนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเสียง แสง กลิ่น และความเป็นส่วนตัว รวมถึงสัตว์รบกวนก็จะเดินทางระหว่างอาคารได้ยากขึ้น การมีช่องว่างระหว่างอาคารยังช่วยทำให้อากาศถ่ายเทได้ดีขึ้นอีกด้วย

3) เพื่อการก่อสร้างและซ่อมแซมอาคาร หากมีการซ่อมแซมหรือต่อเติมบ้าน ระยะร่นอาคาร และที่เว้นว่างของอาคารจะไม่สร้างความรำคาญแก่เพื่อนบ้าน และยังสามารถทำได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการวางนั่งร้าน ติดตั้งรางระบายน้ำ การฉาบปูน หรือทาสีบ้าน

เรื่องกฎหมายข้อบังคับเรื่องระยะห่าง ที่เว้นว่าง เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องศึกษาทำความเข้าใจตั้งแต่ออกแบบบ้าน ซึ่งโดยส่วนใหญ่หากเป็นการสร้างบ้านผ่านบริษัทรับสร้างบ้านที่ดูแลตั้งแต่ออกแบบบ้านไปจนขออนุญาตก็ช่วยลดปัญหายุ่งยากไปได้เลย เพราะหากเปรียบเทียบความเสียหายจากการรื้อถอนคงเข้าทำนองสร้างบ้านเท่ากับบานแน่นอน จึงเป็นอีกเรื่องที่คนสร้างบ้านไม่ควรละเลยอย่างยิ่งค่ะ

 

 

The post เช็กก่อนสร้างบ้าน ระยะต่างๆ ควรห่างจากเขตที่ดินเท่าไร? appeared first on AYB Resort House.

]]>
ทำอย่างไรเมื่ออยากเติมสวนสวยในบ้านสไตล์รีสอร์ทแต่ไม่มีเวลาดูแล? https://ayb.co.th/garden-resort-house/ Fri, 02 Sep 2022 06:55:51 +0000 https://ayb.co.th/?p=6690 บ้านสไตล์รีสอร์ท มีจุดเด่นที่ผสมผสานความเป็นธรรมชาติเข้ากับพื้นที่ของบ้านทั้งภายในและภายนอก ดังนั้นสวนสวยๆ จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับบ้านสไตล์นี้ ซึ่งการออกแบบตกแต่งเริ่มแรกที่ว่าสำคัญแล้ว การดูแลรักษาให้สวนสวยอยู่ตลอดเวลายิ่งสำคัญกว่า เพราะต้องใช้ทั้งเวลาและความใส่ใจดูแล หากปล่อยปละละเลยท้ายที่สุดแล้วก็จะกลายเป็นสวนรกร้างไปตามกาลเวลา แต่ปัญหานี้ยังมีทางออกเพราะ AYB มีแนวทางการเติมสวนสวยในบ้านสไตล์รีสอร์ท ฉบับคนไม่มีเวลาดูแล จะมีวิธีการอย่างไรบ้าง ตามไปดูกันค่ะ   ทำอย่างไรเมื่ออยากเติมสวนสวยในบ้านสไตล์รีสอร์ทแต่ไม่มีเวลาดูแล?   1. เลือกพันธุ์ไม้ที่เหมาะสม ต้นไม้มีหลากหลายประเภท การดูแลเอาใจใส่ก็แตกต่างกัน บางต้นต้องการการดูแลมาก บางต้นอึดทนไม่สนคนเอาใจใส่ ดังนั้นสำหรับสายธรรมชาติแต่ขาดเวลา แนะนำให้เลือกพันธุ์ไม้ที่ทนทาน ไม่ต้องดูแลมาก ไม่ต้องการน้ำบ่อยๆ และทนต่อแสงแดดได้อย่างดีเยี่ยม เช่น ต้นวาสนา จั๋ง โกสน พิกุล หมาก ต้นไม้เหล่านี้รดน้ำ 5-7 วันครั้ง ก็ยังยืนต้นอยู่ได้สบายๆ และที่สำคัญต้นไม้ที่แนะนำดังกล่าว ไม่ค่อยผลัดใบ จึงไม่มีใบไม้ร่วงหล่นเต็มสวน ให้ต้องเสียเวลาเก็บกวาดบ่อยๆ อีกด้วย ซึ่งหากมีการวางแผนสร้างบ้านสไตล์รีสอร์ทพร้อมสวน และบอกความต้องการกับบริษัทรับสร้างบ้านที่ออกแบบบ้านให้ตั้งแต่เริ่มต้น ก็จะช่วยให้วางตำแหน่งและเลือกใช้ต้นไม้แต่ละชนิดได้ง่ายและลงตัวกับแบบบ้าน   2. สวยง่ายๆ ด้วยหญ้าเทียม สนามหญ้าสีเขียวขจี เป็นสวนในฝันของหลายๆ คน แต่การดูแลให้สนามหญ้าสวยฟูไม่รกรุงรังต้องใช้เวลามากกว่าการดูแลต้นไม้เสียอีก เพราะต้องหมั่นตัดแต่งทุกๆ…

The post ทำอย่างไรเมื่ออยากเติมสวนสวยในบ้านสไตล์รีสอร์ทแต่ไม่มีเวลาดูแล? appeared first on AYB Resort House.

]]>

บ้านสไตล์รีสอร์ท มีจุดเด่นที่ผสมผสานความเป็นธรรมชาติเข้ากับพื้นที่ของบ้านทั้งภายในและภายนอก ดังนั้นสวนสวยๆ จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับบ้านสไตล์นี้ ซึ่งการออกแบบตกแต่งเริ่มแรกที่ว่าสำคัญแล้ว การดูแลรักษาให้สวนสวยอยู่ตลอดเวลายิ่งสำคัญกว่า เพราะต้องใช้ทั้งเวลาและความใส่ใจดูแล หากปล่อยปละละเลยท้ายที่สุดแล้วก็จะกลายเป็นสวนรกร้างไปตามกาลเวลา แต่ปัญหานี้ยังมีทางออกเพราะ AYB มีแนวทางการเติมสวนสวยในบ้านสไตล์รีสอร์ท ฉบับคนไม่มีเวลาดูแล จะมีวิธีการอย่างไรบ้าง ตามไปดูกันค่ะ

 

ทำอย่างไรเมื่ออยากเติมสวนสวยในบ้านสไตล์รีสอร์ทแต่ไม่มีเวลาดูแล?

 

1. เลือกพันธุ์ไม้ที่เหมาะสม

ต้นไม้มีหลากหลายประเภท การดูแลเอาใจใส่ก็แตกต่างกัน บางต้นต้องการการดูแลมาก บางต้นอึดทนไม่สนคนเอาใจใส่ ดังนั้นสำหรับสายธรรมชาติแต่ขาดเวลา แนะนำให้เลือกพันธุ์ไม้ที่ทนทาน ไม่ต้องดูแลมาก ไม่ต้องการน้ำบ่อยๆ และทนต่อแสงแดดได้อย่างดีเยี่ยม เช่น ต้นวาสนา จั๋ง โกสน พิกุล หมาก ต้นไม้เหล่านี้รดน้ำ 5-7 วันครั้ง ก็ยังยืนต้นอยู่ได้สบายๆ และที่สำคัญต้นไม้ที่แนะนำดังกล่าว ไม่ค่อยผลัดใบ จึงไม่มีใบไม้ร่วงหล่นเต็มสวน ให้ต้องเสียเวลาเก็บกวาดบ่อยๆ อีกด้วย ซึ่งหากมีการวางแผนสร้างบ้านสไตล์รีสอร์ทพร้อมสวน และบอกความต้องการกับบริษัทรับสร้างบ้านที่ออกแบบบ้านให้ตั้งแต่เริ่มต้น ก็จะช่วยให้วางตำแหน่งและเลือกใช้ต้นไม้แต่ละชนิดได้ง่ายและลงตัวกับแบบบ้าน

 

2. สวยง่ายๆ ด้วยหญ้าเทียม

สนามหญ้าสีเขียวขจี เป็นสวนในฝันของหลายๆ คน แต่การดูแลให้สนามหญ้าสวยฟูไม่รกรุงรังต้องใช้เวลามากกว่าการดูแลต้นไม้เสียอีก เพราะต้องหมั่นตัดแต่งทุกๆ 2 สัปดาห์ ในฤดูฝนหญ้าจะเติบโตไวมาก และในฤดูร้อนหากรดน้ำไม่เพียงพอ หญ้าก็จะแห้งเหลืองและเหี่ยวตาย ดังนั้นหญ้าเทียมคือทางเลือกที่ดีสำหรับคนรักสนามหญ้าแต่ขาดเวลาดูแล เพราะหญ้าเทียมไม่เติบโตให้ต้องคอยตัด และไม่ต้องห่วงเรื่องโดนแดดเผาจนแห้งตายอีกด้วย หญ้าเทียมผลิตจากวัสดุที่หลากหลาย บางรุ่นให้สีและสัมผัสคล้ายหญ้าจริงจนดูแทบไม่ออกเมื่อนำมาปูบนพื้น แถมยังเข้ากับแบบบ้านทุกแบบอีกด้วย

 

3. ติดตั้งระบบรดน้ำอัตโนมัติ

การติดตั้งระบบรดน้ำอัตโนมัติ เป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้สวนสวยงาม เขียวขจีอยู่เสมอ แม้เราจะคัดสรรพันธุ์ไม้ที่แข็งแรง อดทนต่อความแล้งได้ดี แต่หากไม่ได้รับน้ำอย่างเพียงพอก็มีโอกาสเหี่ยวเฉาได้อย่างแน่นอน การติดตั้งระบบน้ำอัตโนมัติจะช่วยประหยัดเวลาได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถตั้งเวลาได้ และหาจุดจัดวางเพื่อให้รดน้ำได้อย่างทั่วถึง เพียงเท่านี้ก็หมดห่วงเรื่องต้นไม้ได้เลย

 

4. ลดปริมาณของประดับและตกแต่งสวน

อุปกรณ์ตกแต่งสวน เช่น รูปปั้น น้ำพุ ตุ๊กตาดินเผา อ่างน้ำ ช่วยสร้างสีสันและทำให้สวนมีชีวิตชีวา แต่หากไม่ได้รับการดูแล ทำความสะอาด เมื่อเนิ่นนานไปบรรดาของประดับตกแต่งที่โดนแดดโดนฝนก็จะเก่า หมอง สกปรก เกิดคราบตะไคร่น้ำ กลายเป็นมุมที่ไม่น่ามอง ดังนั้นหากมีเวลาน้อยจึงควรลดของตกแต่งในสวนให้น้อยลง จะช่วยให้ดูแลสวนได้ง่ายมากขึ้น

 

5. เลือกทำบ่อน้ำแบบธรรมชาติ

การเลือกใช้บ่อน้ำธรรมชาติเติมแต่งในสวนเป็นการใช้พืชรวมถึงสารชีวภาพอื่นๆ ในการทำความสะอาดและบำรุงรักษาบ่อน้ำนั้นตามธรรมชาติ ทำให้แม้เจ้าของบ้านจะไม่มีเวลาดูแลมากนัก ก็ยังสามารถปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติได้ หากจะดูแลเป็นระยะๆ ก็ถือว่ามีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาไม่สูง โดยการสร้างบ่อน้ำแบบธรรมชาตินี้ควรวางแผนตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบและแจ้งบริษัทรับสร้างบ้านให้ เพื่อความลงตัวของบ้านตั้งแต่เริ่มสร้าง

 

6. วัสดุปูพื้นเลือกที่ดูแลง่าย

องค์ประกอบสวนส่วนสุดท้าย ที่หลายคนอาจจะนึกไม่ถึงนั่นคือ วัสดุปูพื้นหรือทางเดินนั่นเอง โดยควรเลือกวัสดุที่มีความแข็งแรงทนทาน รับน้ำหนักได้ดี เข้ากับสไตล์การจัดสวนของเรา ที่สำคัญต้องทำความสะอาดง่าย ซึ่งจะช่วยให้ทางเดินดูสวยงามอยู่เสมอ ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุการลื่น โดยมีวัสดุปูพื้นที่แนะนำได้แก่ บล็อกคอนกรีต ไม้สังเคราะห์ WPC หรือกระเบื้องปูพื้นภายนอก

เทคนิคต่างๆ ที่ AYB ได้รวบรวมมาแบ่งปันนี้ เป็นเทคนิคที่ทำได้ไม่ยาก สามารถนำไปปรับใช้กับสวนที่บ้านได้ รับประกันว่าสวนสไตล์รีสอร์ทหรือสวนสไตล์ไหน ก็จะสวยงามยั่งยืนโดยไม่ต้องใช้เวลาดูแลรักษามากจนเกินไป

 

The post ทำอย่างไรเมื่ออยากเติมสวนสวยในบ้านสไตล์รีสอร์ทแต่ไม่มีเวลาดูแล? appeared first on AYB Resort House.

]]>
สร้างบ้านหรือต่อเติมอย่างไร? ป้องกันปัญหากับเพื่อนบ้านและพื้นที่สาธารณะ https://ayb.co.th/prevent-problems-neighbors/ Tue, 23 Aug 2022 03:00:25 +0000 https://ayb.co.th/?p=6684 การสร้างบ้าน หรือต่อเติมบ้าน แม้จะอยู่ในที่ดินของตัวเอง ซึ่งซื้อหามาถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม แต่เจ้าของที่ดินหรือเจ้าของบ้านก็ไม่สามารถทำตามอำเภอใจได้ทั้งหมด เพราะกฎหมายมีข้อกำหนดในการออกแบบบ้าน ก่อสร้างบ้าน และต่อเติมบ้านไว้หลายประเด็น เพื่อป้องกันไม่ให้กระทำผิดกฎหมายก่อสร้าง หรือเป็นปัญหาเดือดร้อนกับเพื่อนบ้าน และพื้นที่สาธารณะได้ ดังนั้นวันนี้ AYB จะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการต่อเติมหรือสร้างบ้านที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันปัญหากับเพื่อนบ้านและพื้นที่สาธารณะ   สร้างบ้านหรือต่อเติมอย่างไร? ป้องกันปัญหากับเพื่อนบ้านและพื้นที่สาธารณะ   1. สร้างบ้าน หรือออกแบบบ้านเพื่อต่อเติมในที่ดินเดิม ต้องขออนุญาตก่อนการก่อสร้าง การสร้างบ้านหรือต่อเติมบ้านในที่ดินเดิม สามารถทำได้ แต่ต้องขออนุญาต ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่ระบุไว้ว่า หากมีการดัดแปลงหรือต่อเติมอาคาร จะต้องยื่นขออนุญาตดัดแปลงต่อเติมกับหน่วยงานในท้องที่ก่อน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ที่พักอาศัยประเภทบ้านเดี่ยวมักจะทำการดัดแปลงและต่อเติมอาคาร เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน จึงเข้าข่ายการดัดแปลงและต่อเติมที่ต้องขออนุญาต ดังนี้ • ถ้าเป็นการสร้างเพิ่มหรือลด จำนวนพื้นที่ใช้สอยมากกว่า 5 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องแจ้งกับพนักงานท้องถิ่น โดยที่ต้องให้สถาปนิก หรือวิศวกร ที่มีใบอนุญาตถูกต้องเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองแบบบ้านให้ด้วย • ต่อเติมส่วนที่เป็นเสา คาน ทำห้องใหม่ หากทำให้พื้นที่ใช้สอยเกิน 5 ตารางเมตร ต้องขออนุญาตทั้งหมด •…

The post สร้างบ้านหรือต่อเติมอย่างไร? ป้องกันปัญหากับเพื่อนบ้านและพื้นที่สาธารณะ appeared first on AYB Resort House.

]]>

การสร้างบ้าน หรือต่อเติมบ้าน แม้จะอยู่ในที่ดินของตัวเอง ซึ่งซื้อหามาถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม แต่เจ้าของที่ดินหรือเจ้าของบ้านก็ไม่สามารถทำตามอำเภอใจได้ทั้งหมด เพราะกฎหมายมีข้อกำหนดในการออกแบบบ้าน ก่อสร้างบ้าน และต่อเติมบ้านไว้หลายประเด็น เพื่อป้องกันไม่ให้กระทำผิดกฎหมายก่อสร้าง หรือเป็นปัญหาเดือดร้อนกับเพื่อนบ้าน และพื้นที่สาธารณะได้ ดังนั้นวันนี้ AYB จะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการต่อเติมหรือสร้างบ้านที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันปัญหากับเพื่อนบ้านและพื้นที่สาธารณะ

 

สร้างบ้านหรือต่อเติมอย่างไร? ป้องกันปัญหากับเพื่อนบ้านและพื้นที่สาธารณะ

 

1. สร้างบ้าน หรือออกแบบบ้านเพื่อต่อเติมในที่ดินเดิม ต้องขออนุญาตก่อนการก่อสร้าง

การสร้างบ้านหรือต่อเติมบ้านในที่ดินเดิม สามารถทำได้ แต่ต้องขออนุญาต ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่ระบุไว้ว่า หากมีการดัดแปลงหรือต่อเติมอาคาร จะต้องยื่นขออนุญาตดัดแปลงต่อเติมกับหน่วยงานในท้องที่ก่อน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ที่พักอาศัยประเภทบ้านเดี่ยวมักจะทำการดัดแปลงและต่อเติมอาคาร เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน จึงเข้าข่ายการดัดแปลงและต่อเติมที่ต้องขออนุญาต ดังนี้
• ถ้าเป็นการสร้างเพิ่มหรือลด จำนวนพื้นที่ใช้สอยมากกว่า 5 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องแจ้งกับพนักงานท้องถิ่น โดยที่ต้องให้สถาปนิก หรือวิศวกร ที่มีใบอนุญาตถูกต้องเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองแบบบ้านให้ด้วย
• ต่อเติมส่วนที่เป็นเสา คาน ทำห้องใหม่ หากทำให้พื้นที่ใช้สอยเกิน 5 ตารางเมตร ต้องขออนุญาตทั้งหมด
• ต่อเติมที่มีระยะร่นชิดกับรั้วบ้านข้างๆ ต้องได้รับอนุญาตจากบ้านติดกันด้วย ห้ามทำหน้าต่าง และระเบียงยื่นออกมา เพราะอาจมองเห็นบ้านข้างๆ ได้

 

2. การก่อสร้างบ้าน/ต่อเติมบ้านเดี่ยว ตั้งแต่ 1-3 ชั้น มีเงื่อนไขดังนี้

  • ห้ามสร้างบ้านเต็มพื้นที่ดิน การสร้างหรือต่อเติมบ้านเดี่ยว กฎหมายมีข้อกำหนดให้มีที่ว่างไม่น้อยกว่า 30% ของที่ดิน เพราะฉะนั้นพื้นที่สำหรับสร้างบ้าน คือ 70% ของที่ดิน ส่วน 30% ที่เหลือ สามารถจัดสรรทำประโยชน์อื่นๆ เช่น จัดสวน ปลูกต้นไม้ จอดรถ หรือทำบ่อปลาได้
  • ต้องมีระยะถอยร่นจากแนวที่ดินข้างเคียง กฎหมายระยะร่นกำหนดให้ตัวบ้านต้องเว้นระยะห่างจากรั้วและที่ดินข้างเคียง ดังนี้
  • ตัวบ้านต้องเว้นระยะจากรั้ว และที่ดินข้างเคียง ไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
  • หากต้องการเว้นระยะน้อยกว่านั้น ต้องให้เพื่อนบ้านเซ็นยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาภายหลัง
  • ผนังบ้านด้านที่อยู่ติดรั้ว จะต้องเป็นผนังทึบที่ปราศจากหน้าต่าง ช่องลม และช่องแสง
  • อาคารด้านที่ชิดกับที่ดินเอกชน ช่องเปิดประตู หน้าต่าง ช่องระบายอากาศ หรือริมระเบียง สำหรับชั้น 2 ลงมา หรือที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ต้องอยู่ห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2 เมตร
  • อาคารสูง 3 ชั้นขึ้นไป หรือที่มีความสูงเกิน 9 เมตร ต้องอยู่ห่างจากเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 3 เมตร
  • ต้องถอยร่นแนวจากศูนย์กลางถนนสาธารณะ 3 เมตร โดยตัวบ้านที่อยู่ริมถนนต้องมีระยะห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 3 เมตร วัดจากกึ่งกลางถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 6 เมตร เนื่องจากถนนเป็นพื้นที่สาธารณะที่ใช้ร่วมกัน กฎหมายจึงห้ามไม่ให้สร้างบ้านล้ำเข้าไป
  • ที่ดินชิดถนนหักมุม จะต้องปาดแนวรั้วด้านละ 4 เมตร โดยบ้านที่อยู่ติดมุมถนนที่มีมุมหักถนน 2 ด้านน้อยกว่า 135 องศา และถนนกว้าง 3 เมตรขึ้นไป จะต้องปาดมุมรั้วด้านละ 4 เมตร เพื่อไม่ให้รั้วบ้านหรือกำแพงบดบังทัศนวิสัยการมองเห็นของผู้ขับขี่รถ โดยที่ดินส่วนที่ถูกปาดมุมรั้วออกไปนั้น ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของบ้านอยู่เช่นเดิม ไม่ใช่ที่ดินสาธารณะ

 

จะเห็นได้ว่า แม้จะทำการต่อเติมหรือสร้างบ้านในพื้นที่ส่วนตัว แต่ก็ต้องเคารพกฎหมายบ้านเมือง เพื่อทำให้การอยู่อาศัยรวมกันในสังคมเป็นอย่างเรียบร้อย สงบสุข และไม่ให้เกิดปัญหาปวดหัวตามมาในภายหลัง สำหรับเจ้าของบ้านที่ไม่มั่นใจว่าแบบบ้านหรือแบบต่อเติมบ้านที่คิดเอาไว้ จะทำได้โดยไม่ผิดกฎหมายหรือไม่ และจะมีปัญหาการก่อสร้าง ต่อเติมตามมาภายหลังเพราะความไม่รู้เรื่องกฎหมายการก่อสร้างที่ชัดเจนหรือไม่ ลองหันมาใช้ตัวช่วยอย่างบริษัทรับสร้างบ้านที่ได้มาตรฐาน มีประสบการณ์ทำงานมานาน และมีผลงานการันตี จะช่วยในเรื่องการออกแบบและวางแผนก่อสร้างได้อย่างถูกกฎหมายในทุกขั้นตอน

 

The post สร้างบ้านหรือต่อเติมอย่างไร? ป้องกันปัญหากับเพื่อนบ้านและพื้นที่สาธารณะ appeared first on AYB Resort House.

]]>
เรื่องสำคัญต้องรู้! หลักการออกแบบที่จอดรถให้ความปลอดภัย เหมาะกับการใช้งาน https://ayb.co.th/know-safety-parking-design/ Fri, 19 Aug 2022 02:00:50 +0000 https://ayb.co.th/?p=6672 แม้จะเป็นเพียงที่จอดรถ แต่เรื่องความปลอดภัยก็ยังถือเป็นข้อสำคัญไม่แพ้กับการสร้างตัวบ้านส่วนหลักๆ เลย โดยทางเลือกในการออกแบบบ้านและสร้างที่จอดรถมีทั้งก่อสร้างพร้อมตัวบ้าน และการเว้นเพื่อการสร้างในอนาคต แต่ถึงจะเป็นการเว้นไว้เพื่อสร้างในอนาคตก็ยังคงต้องมีการวางแผน เตรียมพื้นที่เพื่อรองรับการจอดและน้ำหนักในอนาคตอยู่ดี ฉะนั้นหลายๆ บ้านจึงนิยมสร้างโรงรถให้จบไปพร้อมๆ กับการสร้างบ้านหลักไปเลย ซึ่งมีหลักการที่ต้องรู้เพื่อให้การสร้างที่จอดรถเป็นไปตามมาตรฐาน เหมาะสมกับการใช้งานและความปลอดภัยมาฝากค่ะ   แบบของที่จอดรถและความเหมาะสมในใช้งาน ก่อนจะไปถึงหลักการที่เหมาะสมเรื่องการใช้งาน ต้องมาดูแปลนของการออกแบบบ้านในฝัน และพื้นที่ของบ้านเบื้องต้นก่อนสร้างบ้านเพื่อวางแผนโครงสร้างที่มีความปลอดภัย โดยแบบของที่จอดรถหากมีพื้นที่น้อยจะออกแบบให้อยู่ใต้ถุนบ้าน หรือ ใต้อาคาร และที่จอดรถที่มีพื้นที่กว้างจะถูกออกแบบให้เป็นโครงสร้างแยก ดังนี้   1. ที่จอดรถแบบใต้ถุนบ้าน หรือใต้อาคาร เป็นแบบของที่จอดรถที่มักจะมีข้อจำกัดของบ้านในเรื่องขนาดและพื้นที่ โดยส่วนมากจะถูกชี้ตำแหน่งไว้หน้าบ้านไปโดยปริยาย เรียกว่าแปลงที่จอดรถเป็นมุมกิจกรรม มุมรับแขกแบบ Out door ไปจนถึงเป็นพื้นที่งานช่าง เรียกได้ว่าเป็นพื้นที่ All in one เลยก็ว่าได้ ข้อดีของที่จอดรถใต้ถุนของบ้านคือ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง และตำแหน่งที่สะดวก เพราะมักอยู่ใกล้ทางเข้า-ออกบ้าน ข้อเสียคือ การใช้โครงสร้างเดียวกันกับตัวบ้าน เมื่อใช้งานเป็นระยะเวลานาน และต้องรับน้ำหนักมากๆ อาจมีการชำรุดพื้นทรุด ควรหมั่นปรับปรุงพื้นที่ การวางแปลนบ้านจึงควรออกแบบงานก่อสร้างบ้านเพื่อรองรับน้ำหนักรถบริเวณนี้ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กหรือหินแกรนิต   2. ที่จอดรถแบบต่อเติมหลังคา ที่จอดรถแบบนี้จะเป็นพื้นที่ต่อเนื่องจากตัวบ้าน โดยต่อเติมเฉพาะหลังคาและโครงสร้างบนตำแหน่งทางเข้า-ออก คล้ายแบบโรงจอดใต้อาคาร…

The post เรื่องสำคัญต้องรู้! หลักการออกแบบที่จอดรถให้ความปลอดภัย เหมาะกับการใช้งาน appeared first on AYB Resort House.

]]>

แม้จะเป็นเพียงที่จอดรถ แต่เรื่องความปลอดภัยก็ยังถือเป็นข้อสำคัญไม่แพ้กับการสร้างตัวบ้านส่วนหลักๆ เลย โดยทางเลือกในการออกแบบบ้านและสร้างที่จอดรถมีทั้งก่อสร้างพร้อมตัวบ้าน และการเว้นเพื่อการสร้างในอนาคต แต่ถึงจะเป็นการเว้นไว้เพื่อสร้างในอนาคตก็ยังคงต้องมีการวางแผน เตรียมพื้นที่เพื่อรองรับการจอดและน้ำหนักในอนาคตอยู่ดี ฉะนั้นหลายๆ บ้านจึงนิยมสร้างโรงรถให้จบไปพร้อมๆ กับการสร้างบ้านหลักไปเลย ซึ่งมีหลักการที่ต้องรู้เพื่อให้การสร้างที่จอดรถเป็นไปตามมาตรฐาน เหมาะสมกับการใช้งานและความปลอดภัยมาฝากค่ะ

 

แบบของที่จอดรถและความเหมาะสมในใช้งาน

ก่อนจะไปถึงหลักการที่เหมาะสมเรื่องการใช้งาน ต้องมาดูแปลนของการออกแบบบ้านในฝัน และพื้นที่ของบ้านเบื้องต้นก่อนสร้างบ้านเพื่อวางแผนโครงสร้างที่มีความปลอดภัย โดยแบบของที่จอดรถหากมีพื้นที่น้อยจะออกแบบให้อยู่ใต้ถุนบ้าน หรือ ใต้อาคาร และที่จอดรถที่มีพื้นที่กว้างจะถูกออกแบบให้เป็นโครงสร้างแยก ดังนี้

 

1. ที่จอดรถแบบใต้ถุนบ้าน หรือใต้อาคาร

เป็นแบบของที่จอดรถที่มักจะมีข้อจำกัดของบ้านในเรื่องขนาดและพื้นที่ โดยส่วนมากจะถูกชี้ตำแหน่งไว้หน้าบ้านไปโดยปริยาย เรียกว่าแปลงที่จอดรถเป็นมุมกิจกรรม มุมรับแขกแบบ Out door ไปจนถึงเป็นพื้นที่งานช่าง เรียกได้ว่าเป็นพื้นที่ All in one เลยก็ว่าได้

ข้อดีของที่จอดรถใต้ถุนของบ้านคือ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง และตำแหน่งที่สะดวก เพราะมักอยู่ใกล้ทางเข้า-ออกบ้าน

ข้อเสียคือ การใช้โครงสร้างเดียวกันกับตัวบ้าน เมื่อใช้งานเป็นระยะเวลานาน และต้องรับน้ำหนักมากๆ อาจมีการชำรุดพื้นทรุด ควรหมั่นปรับปรุงพื้นที่ การวางแปลนบ้านจึงควรออกแบบงานก่อสร้างบ้านเพื่อรองรับน้ำหนักรถบริเวณนี้ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กหรือหินแกรนิต

 

2. ที่จอดรถแบบต่อเติมหลังคา

ที่จอดรถแบบนี้จะเป็นพื้นที่ต่อเนื่องจากตัวบ้าน โดยต่อเติมเฉพาะหลังคาและโครงสร้างบนตำแหน่งทางเข้า-ออก คล้ายแบบโรงจอดใต้อาคาร แต่ต่างกันตรงที่ต้องให้ความสำคัญกับการเลือกหลังคาแทน โดยวัสดุทำหลังคาที่จอดรถ ต้องคำนึงถึงเรื่อง ความร้อน ความแข็งแรง กันเสียง ความโปร่งแสง และน้ำหนัก ซึ่งมีหลากหลายวัสดุให้เลือกมากมายขึ้นอยู่กับดีไซน์ของบ้านและงบประมาณที่สะดวก ส่วนข้อเสียที่ต้องคำนึงก็คือ ต้องแยกโครงสร้าง แม้จะเป็นพื้นที่ต่อเนื่อง เพราะการรับน้ำหนักหลังคาและน้ำหนักของรถ เมื่อพื้นทรุดอาจรั้งโครงสร้างหลักให้เสียหายไปด้วยได้

 

3. ที่จอดรถแบบโครงสร้างแยก

เป็นแบบที่เหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่ขนาดกว้าง ขนาดของที่จอดรถจะเล็กหรือใหญ่ จะสัมพันธ์กับสมาชิกในบ้าน หรือหากเป็นบ้านที่มีแขกแวะเวียนมาตลอด ขนาดก็จะใหญ่ตามการใช้งาน ส่วนใหญ่ตำแหน่งของโรงรถโครงสร้างนี้มักจะอยู่ด้านข้าง หรือด้านหน้า

ข้อดีของการสร้างที่จอดรถแบบโครงสร้างแยกก็คือ เมื่อผ่านการใช้งานนาน หากพื้นทรุดจะไม่รั้งน้ำหนักของโครงสร้างที่ตัวบ้านหลัก

ข้อเสียคือ เป็นการก่อสร้างใหม่ ต้องปรับพื้นที่และคำนวณวัสดุให้พร้อมเพื่อรองรับการใช้งาน ถือว่าเป็นงบอีกก้อนที่ต้องกันไว้โดยเฉพาะ ซึ่งการออกแบบบ้าน ที่จอดรถ ดีไซน์ การตกแต่ง วัสดุปูพื้น ก็จะสะท้อนความเป็นสไตล์ของบ้านและบ่งบอกความทันสมัย ความใส่ใจต่อรถหรูของบ้านนั้นๆ ได้

 

เรื่องสำคัญต้องรู้! หลักการออกแบบที่จอดรถให้ความปลอดภัย เหมาะกับการใช้งาน

หลักการการออกแบบบ้านเพื่อสร้างที่จอดรถ โดยสรุปเป็นเรื่องหลักๆ ที่ต้องคำนึงมี 3 อย่างดังนี้

1. พื้นที่ ต้องมีการปรับพื้นที่ให้เหมาะกับขนาดและน้ำหนักรถ โดยเฉพาะรถหนึ่งคัน หนัก 1,000 กิโลกรัม พื้นควรสร้างเสริมด้วยเหล็กและสามารถรับแรงกดทับ แรงสะเทือน การเข้า-ออก ทุกวันได้

2. ขนาด โดยเฉลี่ยแล้วรถยนต์มีขนาด 5×5.0 เมตร/คัน ควรคำนวณขนาดให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกที่ใช้รถ รวมถึงแขกที่มาแวะเวียนด้วย

3. ตำแหน่ง ต้องวางไว้อย่างเหมาะสม เพื่อความสะดวกในการใช้งาน การเช็ดล้าง ทำความสะอาด การเข้า-ออก ในยามฉุกเฉิน รวมถึงการถ่ายเทและทิศทางของแดดเพื่อถนอมการใช้งานของรถ

 

แม้จะเป็นเพียงที่จอดรถ ถึงจะไม่ได้อยู่อาศัยใช้งานตลอดเวลา แต่ก็จำเป็นต้องมี เพราะนอกจากจะจัดระเบียบพื้นที่ใช้สอยของบ้านให้เป็นสัดส่วน เสริมภาพลักษณ์ของบ้าน รักษาสภาพของรถยนต์แล้ว การมีที่จอดรถยังเป็นการไม่รบกวนการใช้พื้นที่สาธารณะ ซึ่งหากละเลยจุดนี้ไป อาจส่งผลระยะยาวต่อเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นปัญหาบานปลายได้ในอนาคต โดยหากเจ้าของบ้านได้วางแผนการใช้งานรถไว้ก่อนแล้ว ก็สามารถแจ้งบริษัทรับสร้างบ้านที่ดูแลเรื่องการสร้างบ้าน ให้ออกแบบพื้นที่เผื่อไว้สำหรับที่จอดรถ ซึ่งจะทำให้เกิดการจัดสรรพื้นที่อย่างลงตัว และปลอดภัย

 

The post เรื่องสำคัญต้องรู้! หลักการออกแบบที่จอดรถให้ความปลอดภัย เหมาะกับการใช้งาน appeared first on AYB Resort House.

]]>
7 ข้อดีของบ้านสไตล์รีสอร์ท ที่ให้มากกว่าการอยู่อาศัย https://ayb.co.th/advantages-resort-style-house/ Wed, 17 Aug 2022 03:00:18 +0000 https://ayb.co.th/?p=6678 มนต์เสน่ห์ของบ้านสไตล์รีสอร์ท ที่ทำให้หลายคนยกให้เป็นบ้านในฝัน คือ บ้านที่โอบล้อมด้วยธรรมชาติ ทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกผ่อนคลาย ห่างไกลจากความเครียด เสมือนมีวันพักผ่อนตลอดเวลา อีกทั้งตัวบ้านยังมีความสวยงามเหมาะสมกับภูมิอากาศเมืองไทยอีกด้วย ดังนั้นวันนี้ AYB มี 7 ข้อดีของบ้านสไตล์รีสอร์ท ที่ให้มากกว่าการอยู่อาศัย มาฝากกัน จะมีรายละเอียดอะไรน่าสนใจ เหมาะกับการนำไปปรับสร้างบ้านมากน้อยแค่ไหน ตามไปดูกัน   7 ข้อดีของบ้านสไตล์รีสอร์ท ที่ให้มากกว่าการอยู่อาศัย   1. เปิดรับแสงธรรมชาติ บ้านสไตล์รีสอร์ทจะถูกบริษัทรับสร้างบ้านออกแบบให้มีพื้นที่เปิดโล่งแบบ Open Air โดยมักจะมีประตูกระจกหรือหน้าต่างบานใหญ่ เพื่อเปิดรับแสง และวิวธรรมชาติจากสวน ให้สมาชิกได้ดื่มด่ำกับบรรยากาศและวิวทิวทัศน์ภายนอก เช่น บ่อน้ำ บ่อเลี้ยงปลา สวนหิน สวนต้นไม้ ลานกิจกรรมภายนอก เพื่อให้ใกล้ชิดความเป็นธรรมชาติรอบๆ บ้าน สร้างความรู้สึกผ่อนคลายเสมือนการไปพักที่รีสอร์ท   2. มีเพดานสูง ระบายอากาศได้ดี แบบบ้านสไตล์รีสอร์ทมักจะมีเพดานสูงกว่าบ้านทั่วไป เพื่อให้ความรู้สึกโปร่ง โล่ง สบายตา สบายใจ และเมื่อเพดานสูงโปร่ง ข้อดีที่ตามมาคือช่วยในการหมุนเวียนอากาศ ระบายความร้อนภายในตัวบ้านได้เป็นอย่างดีอีกด้วย   3.…

The post 7 ข้อดีของบ้านสไตล์รีสอร์ท ที่ให้มากกว่าการอยู่อาศัย appeared first on AYB Resort House.

]]>

มนต์เสน่ห์ของบ้านสไตล์รีสอร์ท ที่ทำให้หลายคนยกให้เป็นบ้านในฝัน คือ บ้านที่โอบล้อมด้วยธรรมชาติ ทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกผ่อนคลาย ห่างไกลจากความเครียด เสมือนมีวันพักผ่อนตลอดเวลา อีกทั้งตัวบ้านยังมีความสวยงามเหมาะสมกับภูมิอากาศเมืองไทยอีกด้วย ดังนั้นวันนี้ AYB มี 7 ข้อดีของบ้านสไตล์รีสอร์ท ที่ให้มากกว่าการอยู่อาศัย มาฝากกัน จะมีรายละเอียดอะไรน่าสนใจ เหมาะกับการนำไปปรับสร้างบ้านมากน้อยแค่ไหน ตามไปดูกัน

 

7 ข้อดีของบ้านสไตล์รีสอร์ท ที่ให้มากกว่าการอยู่อาศัย

 

1. เปิดรับแสงธรรมชาติ

บ้านสไตล์รีสอร์ทจะถูกบริษัทรับสร้างบ้านออกแบบให้มีพื้นที่เปิดโล่งแบบ Open Air โดยมักจะมีประตูกระจกหรือหน้าต่างบานใหญ่ เพื่อเปิดรับแสง และวิวธรรมชาติจากสวน ให้สมาชิกได้ดื่มด่ำกับบรรยากาศและวิวทิวทัศน์ภายนอก เช่น บ่อน้ำ บ่อเลี้ยงปลา สวนหิน สวนต้นไม้ ลานกิจกรรมภายนอก เพื่อให้ใกล้ชิดความเป็นธรรมชาติรอบๆ บ้าน สร้างความรู้สึกผ่อนคลายเสมือนการไปพักที่รีสอร์ท

 

2. มีเพดานสูง ระบายอากาศได้ดี

แบบบ้านสไตล์รีสอร์ทมักจะมีเพดานสูงกว่าบ้านทั่วไป เพื่อให้ความรู้สึกโปร่ง โล่ง สบายตา สบายใจ และเมื่อเพดานสูงโปร่ง ข้อดีที่ตามมาคือช่วยในการหมุนเวียนอากาศ ระบายความร้อนภายในตัวบ้านได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

 

3. รูปแบบบ้านเรียบง่าย ใช้วัสดุจากธรรมชาติ

เอกลักษณ์ของแบบบ้านสไตล์รีสอร์ท คือ ความเป็นธรรมชาติ ดังนั้นรูปแบบบ้านและสีสัน รวมถึงวัสดุ จึงออกแบบมาให้กลมกลืมกับธรรมชาติ มีความสวยแบบเรียบง่าย และใช้โทนสีธรรมชาติ โทนสีเอิร์ธโทน ให้ความรู้สึกอบอุ่น ผ่อนคลาย วัสดุที่ใช้ก่อสร้างเน้นความเป็นธรรมชาติ เช่น ไม้ หิน ปูนเปลือย มาเป็นส่วนประกอบหลักของบ้าน

 

4. มีต้นไม้ใหญ่ให้ความร่มรื่น

บ้านสไตล์รีสอร์ท ต้องมาพร้อมกับธรรมชาติและต้นไม้ ดังนั้นองค์ประกอบต้นไม้ใหญ่บริเวณบ้าน จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะต้นไม้ใหญ่ถือเป็นส่วนที่สร้างบรรยากาศให้มีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น และเป็นจุดเด่นของพื้นที่ส่วนกลาง ทำให้มีความร่มรื่น ผ่อนคลาย มีชีวิตชีวายามพักอาศัย

 

5. พื้นที่สวนโอบล้อมรอบบ้าน

แบบบ้านสไตล์รีสอร์ทต้องมาคู่กับสวนสีเขียว เพื่อจำลองบรรยากาศรีสอร์ทเอาไว้กลางเมือง โดยไม่ต้องไปถึงต่างจังหวัด ดังนั้นสิ่งสำคัญที่จะทำให้บ้านนั้นเป็นสไตล์รีสอร์ทคือ ต้องมีการคำนวณแบ่งสัดส่วนจากที่ดินที่ใช้สร้างบ้าน โดยแบ่งเป็นพื้นที่สร้างตัวบ้าน 70% และเป็นพื้นที่สวน 30% ซึ่งพื้นที่ในการตกแต่งสร้างบรรยากาศให้เป็นสไตล์รีสอร์ท อาจประกอบไปด้วยพื้นที่สวน สนามหญ้า เนินดิน ต้นไม้ สระว่ายน้ำ และฟังก์ชันที่เอื้อต่อไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนที่อยู่อาศัยเป็นหลัก

 

6. ธรรมชาติต้อนรับตั้งแต่ทางเข้าบ้าน

บ้านสไตล์รีสอร์ทสามารถสร้างบรรยากาศของความสดชื่นต้อนรับได้ตั้งแต่ทางเข้าบ้าน โดยสัมผัสได้ถึงความเป็นธรรมชาติ สร้างความผ่อนคลาย ผ่านการตกแต่งที่ตาสัมผัสเห็น เช่น ความสวยงามของการจัดแต่งสวน สวนหิน สวนน้ำ เสียงธรรมชาติที่หูรับรู้ได้ ไม่ว่าจะเสียงน้ำ ลม เสียงการเคลื่อนไหวของธรรมชาติ หรือกลิ่นของธรรมชาติที่ทำให้เกิดความสดชื่น เหล่านี้จะทำให้บรรยากาศนั้นดูมีมิติ มีความร่มรื่น ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย และมีความสุขทุกครั้งเมื่อก้าวเข้ามาในบ้าน

 

7. มีพื้นที่ส่วนกลางกระชับความสัมพันธ์

จุดเด่นอีกหนึ่งจุดของแบบบ้านรีสอร์ท คือ ลานกิจกรรมส่วนกลาง โดยพื้นที่ลานกิจกรรมส่วนกลางนั้นจะมีความเป็นธรรมชาติ ทำหน้าที่เชื่อมโยงพื้นที่ภายนอกและภายใน มีฟังก์ชันที่สมาชิกสามารถใช้งานตามไลฟ์สไตล์ร่วมกันได้ เพื่อให้สมาชิกในบ้านเอาไว้ทำกิจกรรมต่างๆ หรือสำหรับใช้พักผ่อน เป็นพื้นที่สำหรับกระชับความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว

 

การจะสร้างบ้านสไตล์รีสอร์ทให้สวยงาม ดึงจุดเด่น เอกลักษณ์ของบ้านออกมาได้ครบ เหมาะสมกับการอยู่อาศัยตามไลฟ์สไตล์ของสมาชิก ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น ขนาดที่ดิน การออกแบบบ้าน การวางผังตัวบ้านและสวนให้กลมกลืน อีกทั้งการก่อสร้างและการเลือกใช้วัสดุต่างๆ ที่ต้องเหมาะสมกับแบบบ้านและการใช้งานด้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ดังนั้นเมื่อคิดเริ่มต้นสร้างบ้าน สิ่งแรกที่คุณควรมองหาคือบริษัทรับสร้างบ้าน ที่มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบบ้านสไตล์รีสอร์ท รับสร้างบ้านสไตล์รีสอร์ท มีผลงานที่สามารถตรวจสอบได้ รวมถึงระยะการประกันงานก่อสร้างหลังส่งมอบบ้าน เพื่อให้เรามั่นใจได้ว่าจะได้บ้านสวยเหมาะสมกับราคาที่จ่ายไป และไม่ต้องพบกับปัญหาปวดหัวที่จะตามมาในอนาคต

 

 

 

The post 7 ข้อดีของบ้านสไตล์รีสอร์ท ที่ให้มากกว่าการอยู่อาศัย appeared first on AYB Resort House.

]]>
สร้างบ้านในเมืองไทย เลือกหลังคาทรงไหนให้อยู่อาศัยได้ระยะยาว? https://ayb.co.th/build-house-thailand-roof/ Sun, 14 Aug 2022 10:55:04 +0000 https://ayb.co.th/?p=6651 หลังคาเปรียบเสมือนมงกุฎของบ้าน เป็นองค์ประกอบที่ทำให้บ้านสวยสมบูรณ์ พร้อมทำหน้าที่บังแดด บังฝน ให้ผู้อยู่อาศัยอยู่อย่างปลอดภัยและอุ่นใจ ดังนั้นการเลือกทรงหลังคาจึงจะเลือกที่มีความเก๋ หรือให้เข้ากับสไตล์ของบ้านอย่างเดียวไม่ได้ แต่ยังต้องเลือกทรงที่เหมาะสมกับสภาพอากาศ สภาพพื้นที่ และสามารถใช้งานได้ในระยะยาวอีกด้วย ซึ่งจะมีทรงอะไรบ้าง AYB บริษัทรับสร้างบ้านสไตล์รีสอร์ท จะพาไปดูรายละเอียดกัน   สร้างบ้านในเมืองไทย เลือกหลังคาทรงไหนให้อยู่ได้ระยะยาว? แม้ว่าเมืองไทยจะเป็นเมืองร้อน แดดออกไม่ทันไรหลังคาก็พร้อมจะแห้งเหือดไปในพริบตา แต่กลับกันหากหลังคานั้นถูกสร้างขึ้นโดยที่ความชันไม่ได้องศา ต่อให้แดดแรงแค่ไหนก็ส่องไม่ทันน้ำที่ขังและทำให้เกิดปัญหารั่วซึมตามมาได้ ดังนั้นจึงมีการสร้างหลังคาและจัดวางองศาที่เหมาะสมกับวัสดุหลังคาแต่ละชนิด ดังนี้ 1. หลังคาแผ่นเหล็กรีดลอน (Metal sheet) ความลาดชันที่เหมาะสมตั้งแต่ 5 องศาขึ้นไป หากเป็นแผ่นเดียวยาวตลอดไม่มีแผ่นซ้อนควรลาดเอียง 3 องศาขึ้นไป 2. กระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์ ได้แก่ กระเบื้องลอนคู่ กระเบื้องลอนเล็ก กระเบื้อง 3 ลอน กระเบื้อง 4 ลอน ความลาดเอียงที่เหมาะสมคือ 15-40 องศา 3. กระเบื้องว่าวคอนกรีต กระเบื้องว่าวดินเผา ความลาดเอียงที่เหมาะสมตั้งแต่ 35-45 องศา4 4. กระเบื้องแบบโมเนียร์…

The post สร้างบ้านในเมืองไทย เลือกหลังคาทรงไหนให้อยู่อาศัยได้ระยะยาว? appeared first on AYB Resort House.

]]>

หลังคาเปรียบเสมือนมงกุฎของบ้าน เป็นองค์ประกอบที่ทำให้บ้านสวยสมบูรณ์ พร้อมทำหน้าที่บังแดด บังฝน ให้ผู้อยู่อาศัยอยู่อย่างปลอดภัยและอุ่นใจ ดังนั้นการเลือกทรงหลังคาจึงจะเลือกที่มีความเก๋ หรือให้เข้ากับสไตล์ของบ้านอย่างเดียวไม่ได้ แต่ยังต้องเลือกทรงที่เหมาะสมกับสภาพอากาศ สภาพพื้นที่ และสามารถใช้งานได้ในระยะยาวอีกด้วย ซึ่งจะมีทรงอะไรบ้าง AYB บริษัทรับสร้างบ้านสไตล์รีสอร์ท จะพาไปดูรายละเอียดกัน

 

สร้างบ้านในเมืองไทย เลือกหลังคาทรงไหนให้อยู่ได้ระยะยาว?

แม้ว่าเมืองไทยจะเป็นเมืองร้อน แดดออกไม่ทันไรหลังคาก็พร้อมจะแห้งเหือดไปในพริบตา แต่กลับกันหากหลังคานั้นถูกสร้างขึ้นโดยที่ความชันไม่ได้องศา ต่อให้แดดแรงแค่ไหนก็ส่องไม่ทันน้ำที่ขังและทำให้เกิดปัญหารั่วซึมตามมาได้ ดังนั้นจึงมีการสร้างหลังคาและจัดวางองศาที่เหมาะสมกับวัสดุหลังคาแต่ละชนิด ดังนี้

1. หลังคาแผ่นเหล็กรีดลอน (Metal sheet) ความลาดชันที่เหมาะสมตั้งแต่ 5 องศาขึ้นไป หากเป็นแผ่นเดียวยาวตลอดไม่มีแผ่นซ้อนควรลาดเอียง 3 องศาขึ้นไป

2. กระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์ ได้แก่ กระเบื้องลอนคู่ กระเบื้องลอนเล็ก กระเบื้อง 3 ลอน กระเบื้อง 4 ลอน ความลาดเอียงที่เหมาะสมคือ 15-40 องศา

3. กระเบื้องว่าวคอนกรีต กระเบื้องว่าวดินเผา ความลาดเอียงที่เหมาะสมตั้งแต่ 35-45 องศา4

4. กระเบื้องแบบโมเนียร์ เช่น ซีแพคโมเนีย กระเบื้องตราเพชร ควรมีความลาดเอียงตั้งแต่ 25 -40 องศา

5. กระเบื้องดินเผาควรมีความลาดเอียงตั้งแต่ 20 องศาขึ้นไป เพราะแผ่นเล็กแนวซ้อนทับหลายแนว

เมื่อมีข้อมูลเฉพาะความลาดชันของวัสดุแต่ละประเภท และแนวทางเลือกทรงที่เหมาะสมกับบ้านเพื่อการใช้งานในระยะยาวแล้ว ยังต้องศึกษาสำรวจทิศทางลมและฝนก่อนสร้างบ้าน เพื่อออกแบบให้หันรับกับแนวฝน และทางลมเพื่อให้การระบายความร้อนที่สะสมใต้หลังคาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 


ทรงหลังคาบ้านที่เหมาะสมกับเมืองไทย


หลังคาทรงจั่ว

เป็นหลังคามาตรฐานของบ้านในเมืองไทยที่พบเห็นกันได้มากที่สุด แม้จะเป็นรูปแบบหลังคาที่ง่าย แต่ด้วยรูปร่างที่ประกอบขึ้นเป็นผืนหลังคาสองข้างประกบกันซึ่งทำให้เกิดความลาดชัน จึงระบายน้ำฝนได้รวดเร็วไม่ค้างอยู่บนหลังคา ชายคายื่นยาวออกมาจากตัวบ้านป้องกันละอองฝนได้ดี ลักษณะรูปทรงที่มีสันสูงทำให้เกิดพื้นที่ว่างใต้โถงหลังคามาก ซึ่งช่วยให้การระบายความร้อนออกจากตัวบ้านสะดวกขึ้น


หลังคาทรงปั้นหยา

หลังคาทรงปั้นหยาเป็นทรงที่เรียบหรู ดูดี เป็นที่นิยมใช้ในแบบบ้านสไตล์รีสอร์ท ด้วยเป็นหลังคาที่ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านทั้ง 2 ข้าง ประกบชนกันที่ด้านบน สามารถป้องกันแดด ป้องกันฝนได้ทุกด้าน ทั้งยังทนต่อการปะทะจากแรงลมได้ดี เหมาะสำหรับบ้านในบริเวณที่มีสภาพอากาศรุนแรงของฝน และลมพายุ แต่หลังคาทรงนี้เป็นทรงปิดไม่มีหน้าจั่วที่ช่วยระบายความร้อน จึงต้องปรับประยุกต์ติดฝ้าชายคาที่มีร่องระบายอากาศ เพื่อช่วยระบายอากาศที่สะสมใต้โถงหลังคา แต่ข้อดีของหลังคาทรงปั้นหยา คือเป็นหลังคาที่ไม่มีปัญหารั่วซึมเหมือนหลังคารูปทรงอื่นๆ

 


หลังคาบ้านทรงแบน

เป็นหลังคาที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะจะเห็นได้จากการออกแบบบ้านสไตล์โมเดิร์น ข้อดีของหลังงคาทรงแบนคือ เพิ่มภาพลักษณ์ความทันสมัยให้กับบ้าน สามารถใช้พื้นที่หลังคาในการทำประโยชน์ได้ แต่ด้วยความที่เป็นหลังคาที่มีความลาดชันน้อยและทำด้วยคอนกรีต หลังคาแบบนี้จึงมีพื้นที่ที่รับและสะสมความร้อนไปในเวลาเดียวกัน จึงต้องมีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนเหนือฝ้าเพดาน การทาสีสะท้อนความร้อนบนพื้นดาดฟ้า หรือติดตั้งวัสดุที่ช่วยไม่ให้แสงแดดตกกระทบพื้นคอนกรีตโดยตรง ฉะนั้นการทำหลังคาทรงนี้จึงต้องผ่านการออกแบบบ้านและวางแผนวัสดุอื่นๆ เพิ่มเติมโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ


หลังคาทรงหมาแหงน

เป็นทรงที่พบเห็นได้ตามคาเฟ่ หรือการออกแบบบ้านที่ต้องการโชว์ความเท่ ไม่เหมือนใคร แต่หากมองที่การใช้งานนั้นอาจจะต้องพิจารณากันอีกที เพราะเป็นหลังคาที่มีความลาดชันไม่มากนัก ระบายน้ำฝนไม่ดีพอ จึงอาจจะทำให้เกิดปัญหาน้ำรั่วซึม และโถงใต้หลังคาต่ำ ส่งผลให้บ้านร้อนมากกว่าทรงหลังคาทั่วไป จึงจำเป็นต้องออกแบบให้โถงหลังคาด้านสูง สูงอย่างน้อย 1 เมตร เพื่อสามารถติดตั้งฉนวนกันความร้อนช่วยถ่ายเทความร้อนในโถง ข้อเสียอีกข้อคือป้องกันฝนสาดได้ไม่ดีเท่าที่ควร


หลังคาทรงมะนิลา

เป็นทรงที่มีการผสมผสานระหว่างทรงจั่ว และทรงปั้นหยา โดยรูปทรงจะมีจั่วอยู่บริเวณยอดหลังคา ข้อดีของหลังคาทรงมะนิลา คือมีความแข็งแรงมั่นคง กันแดดกันฝนได้ดีเหมือนกับทรงปั้นหยา และยังสามารถระบายความร้อนได้ดีเหมือนกับทรงจั่ว ทำให้หลังคาทรงมะนิลาเป็นหลังคาที่เหมาะกับภูมิอากาศเมืองไทยทุกภาค ให้อารมณ์เรือนไทยประยุกต์ และแบบบ้านสไตล์รีสอร์ท

 

 

การเลือกหลังคาทรงต่างๆ ควรคำนึงถึงเรื่องการระบายความร้อน โดยทรงที่เหมาะกับบ้านในเมืองไทยคือ หลังคาทรงจั่ว หลังคาทรงปั้นหยา และหลังคาทรงมะนิลา ซึ่งล้วนมีคุณสมบัติระบายน้ำดีไม่รั่วซึมด้วย ถือเป็นการป้องกันทรัพย์สินตัดปัญหางานรื้อแก้อื่นๆ ภายใน ที่อาจจะส่งผลต่อการใช้งานระยะยาวนั่นเอง

 

 

The post สร้างบ้านในเมืองไทย เลือกหลังคาทรงไหนให้อยู่อาศัยได้ระยะยาว? appeared first on AYB Resort House.

]]>
เทคนิคสร้างบ้านอย่างไร? คุมงบได้ไม่บานปลาย https://ayb.co.th/budget-control/ Wed, 27 Jul 2022 02:00:06 +0000 https://ayb.co.th/?p=6626 รู้หรือไม่? บ้านหนึ่งหลังกว่าจะสร้างเสร็จสมบูรณ์ มีงบของงานก่อสร้างบ้านอยู่มากถึง 66% งานตกแต่งภายใน 22% ซึ่งเป็นเงินก้อนส่วนที่เราสามารถมองเห็นเป็นชิ้นเป็นอัน เช่น ปูน หิน ดิน อิฐ ตู้ เตียง โต๊ะ แต่ก็ยังมีค่าใช้จ่ายที่เราไม่สามารถมองเห็นหรือมองข้ามไปอีกหลายอย่าง และนี่เองอาจทำให้งบการสร้างบ้านบานปลาย กระเป๋าไหลไม่รู้ตัว วันนี้ AYB นำเทคนิคสร้างบ้านอย่างไรให้งบไม่บานปลาย มาฝากกันค่ะ   เทคนิคสร้างบ้านอย่างไร? คุมงบได้ไม่บานปลาย 1. รู้จักที่ดินหรือสภาพพื้นที่ ค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากตัวบ้าน คือ ที่ดิน การถม การขุด เราเรียกว่าการเตรียมที่ดิน หากตรวจสอบแล้วว่าที่ดินของเราต่ำกว่าพื้นที่ข้างเคียง หรือไม่มีที่ระบายน้ำ สภาพดินไม่เหมาะสมกับการปลูกบ้าน จำเป็นต้องมีการปรับแก้ ค่าใช้จ่ายในการเตรียมที่ดินจึงเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ควรรู้ และจัดสรรให้อยู่ในงบ ยิ่งหากพื้นที่ใหญ่ มีการขุด-ถม ปรับแก้เยอะ ก็ยิ่งทำให้งบบานปลายจ่ายก้อนใหญ่ ฉะนั้นจุดนี้จึงถือเป็นงบที่ไม่ควรละเลยเด็ดขาด   2. ยืนยันแบบถูกต้อง เป็นขั้นตอนที่ใช้ได้กับทุกสายงาน คือการตรวจยืนยันงาน ซึ่งงานออกแบบบ้านเมื่อผ่านการวัดวางตำแหน่งทิศทางโดยสถาปนิก หรือยืนยันแบบการก่อสร้างจากวิศวกรแล้ว หากลงมือก่อสร้างแล้วมีการทุบแก้ไข จะด้วยเหตุอันเนื่องจากเพื่อให้แบบทันสมัยขึ้น หรือเหตุสุดวิสัยจากช่าง ก็ทำให้เกิดความเสียหายทั้งนั้น…

The post เทคนิคสร้างบ้านอย่างไร? คุมงบได้ไม่บานปลาย appeared first on AYB Resort House.

]]>

รู้หรือไม่? บ้านหนึ่งหลังกว่าจะสร้างเสร็จสมบูรณ์ มีงบของงานก่อสร้างบ้านอยู่มากถึง 66% งานตกแต่งภายใน 22% ซึ่งเป็นเงินก้อนส่วนที่เราสามารถมองเห็นเป็นชิ้นเป็นอัน เช่น ปูน หิน ดิน อิฐ ตู้ เตียง โต๊ะ แต่ก็ยังมีค่าใช้จ่ายที่เราไม่สามารถมองเห็นหรือมองข้ามไปอีกหลายอย่าง และนี่เองอาจทำให้งบการสร้างบ้านบานปลาย กระเป๋าไหลไม่รู้ตัว วันนี้ AYB นำเทคนิคสร้างบ้านอย่างไรให้งบไม่บานปลาย มาฝากกันค่ะ

 

เทคนิคสร้างบ้านอย่างไร? คุมงบได้ไม่บานปลาย

1. รู้จักที่ดินหรือสภาพพื้นที่

ค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากตัวบ้าน คือ ที่ดิน การถม การขุด เราเรียกว่าการเตรียมที่ดิน หากตรวจสอบแล้วว่าที่ดินของเราต่ำกว่าพื้นที่ข้างเคียง หรือไม่มีที่ระบายน้ำ สภาพดินไม่เหมาะสมกับการปลูกบ้าน จำเป็นต้องมีการปรับแก้ ค่าใช้จ่ายในการเตรียมที่ดินจึงเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ควรรู้ และจัดสรรให้อยู่ในงบ ยิ่งหากพื้นที่ใหญ่ มีการขุด-ถม ปรับแก้เยอะ ก็ยิ่งทำให้งบบานปลายจ่ายก้อนใหญ่ ฉะนั้นจุดนี้จึงถือเป็นงบที่ไม่ควรละเลยเด็ดขาด

 

2. ยืนยันแบบถูกต้อง

เป็นขั้นตอนที่ใช้ได้กับทุกสายงาน คือการตรวจยืนยันงาน ซึ่งงานออกแบบบ้านเมื่อผ่านการวัดวางตำแหน่งทิศทางโดยสถาปนิก หรือยืนยันแบบการก่อสร้างจากวิศวกรแล้ว หากลงมือก่อสร้างแล้วมีการทุบแก้ไข จะด้วยเหตุอันเนื่องจากเพื่อให้แบบทันสมัยขึ้น หรือเหตุสุดวิสัยจากช่าง ก็ทำให้เกิดความเสียหายทั้งนั้น ทั้งงบและเวลา ดังนั้นหากยืนยันแบบถูกต้องและได้ช่างหรือบริษัทรับสร้างบ้านมืออาชีพก็จะช่วยควบคุมงบที่ต้องจ่ายส่วนนี้ได้อย่างดี

 

3. การตกแต่งบ้าน

งานตกแต่งบ้านไม่ได้หมายถึงเรื่องเฟอร์นิเจอร์ลอยอย่างเดียว ในทีนี้หมายถึงงาน build-in ด้วยที่เกี่ยวเนื่องกับงานช่าง มีเรื่องตำแหน่งและขนาดที่จะต้องแม่นยำและแน่นอน เพราะหากปรับแก้ก็เป็นงบสำคัญอีกส่วนที่จะทำให้บ้านของเราบานปลาย นอกจากนี้ยังควรศึกษาวัสดุ build-in ที่ราคาเหมาะสมคุ้มกับคุณภาพ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายขณะติดตั้ง เพื่ออุดรอยรั่วงบไม่ไหลภายหลัง

 

4. วัสดุก่อสร้าง

สไตล์บ้านก็เป็นอีกหนึ่งข้อที่บอกงบประมาณได้ เช่น แบบบ้านสไตล์รีสอร์ท เน้นความเป็นธรรมชาติตกแต่งให้มีความรู้สึกผ่อนคลาย ฉะนั้นเมื่อได้แบบบ้านที่ชัดเจน ก็สามารถระบุวัสดุก่อสร้างได้ เช่น หากสร้างบ้านด้วยเสาไม้ แต่เปลี่ยนวัสดุเป็นการก่อเพื่อเลียนแบบไม้ก็เป็นการคุมงบได้ หรือแม้กระทั่งการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป ไม่ถูกจนเกินไปและไม่แพงเกินคุณภาพ หากมีแก้ไขหรือชำรุดระหว่างก่อสร้างก็สามารถหาทดแทนได้ง่ายๆ เพราะหากเป็นการสั่งทำวัสดุขึ้นมาใหม่นั่นหมายถึงการจ่ายที่แพงกว่า และเวลาที่จะต้องรอก็นานกว่า ยิ่งหากมีการแก้ไขก็ยิ่งเพิ่มเวลา การสร้างบ้านก็ยืดเยื้อผลที่ตามมาคือค่าใช้จ่ายทีมช่าง ทีมทำงาน หรือหากมีการเช่าที่ทางเพื่อเก็บของก็จะต้องยืดเยื้อออกไป

 

5. งานตกแต่งสวน

บ้านสวย สวนงามเป็นของคู่กัน แต่หากปล่อยรกไม่ดูแล วางต้นไม้ตกแต่งอย่างไม่เป็นระเบียบก็อาจเข้าตำรา เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่ายได้ งบการตกแต่งสวนที่ถูกตัดทิ้ง เพราะคิดว่าทำเองได้จะส่งผลเสียระยะยาวและเป็นเบี้ยหัวแตก เช่น หากปลูกต้นหูกระจงใกล้บ้าน นานไปก็กลายเป็นปัญหาโครงสร้างบ้าน ฉะนั้นควรตั้งงบงานตกแต่งสวนให้ชัดเจน ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสวนหรือบริษัทรับสร้างบ้านที่มีประสบการณ์ เพื่อช่วยวางตำแหน่งและความเหมาะสมตามทิศทางที่ควรจะเป็น เมื่อมีงบประมาณการทำสวนสวยอยู่ในงบสร้างบ้านแล้ว จะทำให้เราคุมงบได้ชัดเจน ไม่ต้องมีข้ออ้างในการซื้อของแต่งสวนที่เกินจากนักออกแบบสวนจัดแจงให้เรา

 

ข้อสุดท้ายสำคัญที่สุดคือการรู้ลำดับการทำงานก่อสร้าง คอยดูความเรียบร้อยเป็นระยะ ตรวจรับงานก่อนจ่ายเงิน หรือหากใช้ช่างชุดเดียวตลอดการก่อสร้างต้องแบ่งชำระเงินออกเป็นงวดๆ ป้องกันการหนีงาน หลายครั้งที่มีการแชร์ประสบการณ์ช่างเบิกเงินเกินงาน ไม่รับผิดชอบ เสียทั้งเวลา เสียทั้งความรู้สึก แถมยังไม่ได้บ้างอย่างที่หวังอีกด้วย

 

การสร้างบ้านหนึ่งหลัง คุณเลือกได้ว่าจะจัดสรรงบอย่างไร หากไม่รู้เรื่องการสร้างบ้านอย่างรอบด้าน ก็ควรหาผู้ช่วยอย่างบริษัทรับสร้างบ้านสไตล์รีสอร์ทช่วยดูแล เพื่อจัดสรรงบประมาณตั้งแต่เริ่มต้นสร้างจนแล้วเสร็จให้คุณอย่างละเอียด ทำให้เห็นภาพรวมของงบอย่างชัดเจน เห็นจุดที่อาจทำให้เกิดความผิดพลาด และมีแนวทางแก้ไขสำรองไว้ ที่สำคัญสร้างกับบริษัทรับสร้างบ้านที่เป็นมืออาชีพก็การันตีได้ว่า สร้างบ้าน จะได้บ้าน และได้บ้านที่เหมาะกับการใช้ชีวิตของสมาชิกทุกคนอย่างแน่นอน

 

 

The post เทคนิคสร้างบ้านอย่างไร? คุมงบได้ไม่บานปลาย appeared first on AYB Resort House.

]]>
เช็กก่อนสร้าง ที่ดินของคุณเหมาะกับการสร้างบ้านหรือไม่? https://ayb.co.th/check-befor-land/ Mon, 25 Jul 2022 07:53:54 +0000 https://ayb.co.th/?p=6623 เคยได้ยินเรื่องพรหมลิขิต รักแรกพบอะไรแบบนี้ก็บ่อย ไม่เว้นแม้แต่เรื่องการเลือกซื้อที่ดิน บางทีแค่ขับรถผ่าน ชะตาต้องกันกระโดดลงรถไปซื้อเลยก็มี แต่วิธีนี้ไม่ใช่เหตุผลหลักที่คนทั่วไปจะใช้ตัดสินใจได้ โดยเฉพาะเพื่อการสร้างบ้าน เพราะการตัดสินใจครั้งใหญ่ที่จะผูกมัดเราไว้เป็นหลักสิบๆ ปี พร้อมกับการจ่ายก้อนใหญ่ ต้องเช็กข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียด ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้างนั้นตามไปดูกันค่ะ   เช็กก่อนสร้าง ที่ดินของคุณเหมาะกับการสร้างบ้านหรือไม่? 1. ทำเล ทำเลในที่นี้หมายถึงภาพรวมกว้างๆ เช่น ใกล้ที่ทำงานมั้ย เดินทางอย่างไร สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร อยู่ในพื้นที่อุตสาหกรรมไหม มีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด หรือเป็นทำเลทองล้อมรอบด้วยสำนักงานอาคารพาณิชย์ ชุมชน สถานที่สำคัญหรือเปล่า นอกจากปัจจัยต่างๆ ข้างต้น ยังมีเรื่องของฮวงจุ้ย ซึ่งข้อควรระวังในการเลือกที่ดินในทำเลต่างๆ คือ ต้องไม่เป็นโรงฆ่าสัตว์ โรงพยาบาล สุสาน ศาสนสถาน เพราะเป็นแหล่งรวมพลังงานด้านลบ ทั้งยังเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคอีกด้วย   2. รูปทรงที่ดิน รูปทรงที่เหมาะแก่การสร้างบ้านคือ รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือ สี่เหลี่ยมจัตุรัส เพราะง่ายและคุ้มค่าในเรื่องการออกแบบบ้าน เพื่อจัดสรรพื้นที่เป็นมุมต่างๆ ได้อย่างง่าย ที่สำคัญหากอนาคตมีการซื้อขายเกิดขึ้น รูปทรงของที่ดินก็มีส่วนในการประเมินราคาและการตัดสินใจของผู้ที่จะมาซื้อต่อเช่นกัน ยิ่งหากเป็นรูปทรงทางกว้างติดถนน ราคายิ่งสูงขึ้นไปอีก ในทางฮวงจุ้ยรูปทรงที่ดินต้องห้ามคือ รูปทรงสามเหลี่ยมหรือชายธง ซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลให้สมาชิกในบ้านเจ็บป่วยบ่อย…

The post เช็กก่อนสร้าง ที่ดินของคุณเหมาะกับการสร้างบ้านหรือไม่? appeared first on AYB Resort House.

]]>

เคยได้ยินเรื่องพรหมลิขิต รักแรกพบอะไรแบบนี้ก็บ่อย ไม่เว้นแม้แต่เรื่องการเลือกซื้อที่ดิน บางทีแค่ขับรถผ่าน ชะตาต้องกันกระโดดลงรถไปซื้อเลยก็มี แต่วิธีนี้ไม่ใช่เหตุผลหลักที่คนทั่วไปจะใช้ตัดสินใจได้ โดยเฉพาะเพื่อการสร้างบ้าน เพราะการตัดสินใจครั้งใหญ่ที่จะผูกมัดเราไว้เป็นหลักสิบๆ ปี พร้อมกับการจ่ายก้อนใหญ่ ต้องเช็กข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียด ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้างนั้นตามไปดูกันค่ะ

 

เช็กก่อนสร้าง ที่ดินของคุณเหมาะกับการสร้างบ้านหรือไม่?

1. ทำเล

ทำเลในที่นี้หมายถึงภาพรวมกว้างๆ เช่น ใกล้ที่ทำงานมั้ย เดินทางอย่างไร สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร อยู่ในพื้นที่อุตสาหกรรมไหม มีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด หรือเป็นทำเลทองล้อมรอบด้วยสำนักงานอาคารพาณิชย์ ชุมชน สถานที่สำคัญหรือเปล่า

นอกจากปัจจัยต่างๆ ข้างต้น ยังมีเรื่องของฮวงจุ้ย ซึ่งข้อควรระวังในการเลือกที่ดินในทำเลต่างๆ คือ ต้องไม่เป็นโรงฆ่าสัตว์ โรงพยาบาล สุสาน ศาสนสถาน เพราะเป็นแหล่งรวมพลังงานด้านลบ ทั้งยังเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคอีกด้วย

 

2. รูปทรงที่ดิน

รูปทรงที่เหมาะแก่การสร้างบ้านคือ รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือ สี่เหลี่ยมจัตุรัส เพราะง่ายและคุ้มค่าในเรื่องการออกแบบบ้าน เพื่อจัดสรรพื้นที่เป็นมุมต่างๆ ได้อย่างง่าย ที่สำคัญหากอนาคตมีการซื้อขายเกิดขึ้น รูปทรงของที่ดินก็มีส่วนในการประเมินราคาและการตัดสินใจของผู้ที่จะมาซื้อต่อเช่นกัน ยิ่งหากเป็นรูปทรงทางกว้างติดถนน ราคายิ่งสูงขึ้นไปอีก

ในทางฮวงจุ้ยรูปทรงที่ดินต้องห้ามคือ รูปทรงสามเหลี่ยมหรือชายธง ซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลให้สมาชิกในบ้านเจ็บป่วยบ่อย ขาดโชคลาภด้านการเงิน รวมทั้งเกิดปัญหาการทะเลาะเบาะแว้ง รวมถึงที่ดินทรงนี้มักเหลือพื้นที่บางส่วนที่ไม่อาจใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่อีกด้วย ถือเป็นความสูญเปล่าที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง

 

3. ทางเข้า-ออก และแหล่งน้ำ

ทางเข้า-ออกสำคัญที่สุด ต้องไม่เป็นที่ดินตาบอด ต้องศึกษาเขตกรรมสิทธิ์ของตัวเองให้ละเอียด หลายครั้งในความเข้าใจผิด หรือใช้ความเคยชินของชาวบ้าน เห็นพื้นที่หรือถนนรอบข้างโล่งก็ถือวิสาสะเข้า-ออกในพื้นที่ของคนอื่น จนทำให้คุณอาจตัดสินใจซื้อโดยที่ไม่ศึกษาประวัติที่ดินนั้นก่อน จนวันหนึ่งเมื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ดำเนินการใดๆ ต่อพื้นที่ อาจส่งผลเสียต่อความสะดวก รวมถึงอาจทำให้กลายเป็นผู้บุกรุกโดยไม่รู้ตัว

ข้อควรระวังในเรื่องเขตพื้นที่ คือ ไม่ควรซื้อที่ดินที่ติดแม่น้ำ จะมีปัญหาเรื่องการกัดเซาะพังทลายได้ หรือควรเว้นระยะออกแบบบ้านและปลูกสร้างบ้านให้ห่างจากแม่น้ำเป็นระยะที่พอสมควร และต้องไม่ใช่แหล่งน้ำนิ่ง ต้องเป็นน้ำที่มีการไหลเวียนหรือเคลื่อนไหวตลอดเวลา

 

4. ระดับสูง-ต่ำของที่ดิน

เมื่อถูกใจกับที่ดินดังกล่าวแล้ว ก่อนจะวางมัดจำ ขอฝากข้อสังเกตเรื่องระดับสูง-ต่ำของพื้นที่ กล่าวคือการที่ที่ดินต่ำกว่ารอบข้างนั้นจะกลายเป็นพื้นที่ที่รองรับน้ำ รองรับของเสียจากรอบข้างไปโดยปริยาย พร้อมกันนั้นยังสะท้อนค่าใช้จ่ายจำเป็นต่างๆ ที่ต้องเพิ่มขึ้นแน่นอน และยังพ่วงต่อในเรื่องกฎหมาย พ.ร.บ. ขุดดิน-ถมดินอีก ซึ่งถ้าการสร้างบ้านครั้งนี้เป็นการสร้างบ้านผ่านบริษัทรับสร้างบ้านก็ยังถือว่าสะดวกในเรื่องของการควบคุมการก่อสร้าง ขุดถมให้เป็นไปตามกฎหมาย หากเป็นการสร้างบ้านเองต้องพิจารณาเรื่องนี้เพิ่มเติม

ข้อควรระวังในเรื่องระดับสูง-ต่ำ ตามตำราฮวงจุ้ยถือว่าสิ่งไม่ดีจะไหลถ่ายเทเข้าสู่บ้านได้

 

5. ราคาที่เหมาะสม

ดูเหมือนเรื่องราคาจะเป็นตัวสรุปทุกเงื่อนไขว่าจะสามารถครอบครองที่ดินนั้นๆ ได้หรือไม่ เพราะยิ่งทำเลใกล้ชุมชน ใกล้สาธารณูปโภคราคาก็ยิ่งสูง หรือถ้าเป็นที่ดินทำเลทองมีคนอยากจับจองเยอะๆ และเจ้าของที่ดินอ่านความต้องผู้ซื้อได้มากเท่าไหร่ ราคาก็จะไม่อ่อนโยนด้วยเท่านั้น เรียกรวมๆ ว่าขึ้นอยู่กับความพอใจ แต่แม้จะเป็นที่ดินทำเลทองแค่ไหนก็ควรมีราคากลาง ราคาเป็นธรรม เป็นมาตรฐาน กำหนดการซื้อขาย โดยสามารถเช็กราคาได้จากส่วนต่างๆ ดังนี้

  • ที่ดินของกรมธนารักษ์ กรมธนารักษ์เป็นองค์กรของรัฐบาล สามารถเช็กได้ทางเว็บของกรมธนารักษ์ได้ด้วยตัวเองที่ https://assessprice.treasury.go.th
  • ที่ดินของภาคเอกชน เป็นการประเมินราคาโดยผู้เชี่ยวชาญราคาที่ดินจากเอกชน โดยสามารถยื่นตรวจสอบได้ผ่านบริษัทประเมินราคาที่ดิน หรือปรึกษาบริษัทรับสร้างบ้านที่เลือกใช้บริการสร้างบ้าน
  • ราคาตลาด คือ ราคาที่ประเมินจากการซื้อขายที่ดินโดยรอบพื้นที่นั้นๆ เป็นราคาที่ผู้ขายตั้งไว้จะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับความพอใจ โดยสามารถเทียบราคากับประกาศ หรือจากธนาคารได้

 

ข้อควรรู้ทั้งหมด น่าจะเป็นตัวช่วยทำให้ใครหลายๆ คน ตัดสินใจความเหมาะสมเรื่องที่ดินได้ในเบื้องต้น ซึ่งยังมีอีกหลายข้อที่เป็นข้อมูลเฉพาะของที่ดิน และความต้องการของเจ้าบ้านนั้นๆ ซึ่งอาจแตกต่างกันออกไป เช่น ต้องดูขนาดของพื้นที่ เล็ก หรือ ใหญ่ เพียงพอต่อสมาชิก กิจกรรม สไตล์ ที่ต้องการทำ ซึ่งสามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้จากเว็บ บริษัท อยุธยา สร้างบ้าน จำกัด ได้เลยค่ะ

 

 

The post เช็กก่อนสร้าง ที่ดินของคุณเหมาะกับการสร้างบ้านหรือไม่? appeared first on AYB Resort House.

]]>